หลักเกณฑ์การถอดแบบคำนวณปริมาณวัสดุ งานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม(2/3)
8)อัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต Class ต่างๆ (1ลบ.ม.แน่น)
8.1)อัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต Class ต่างๆ (1ลบ.ม.แน่น) ตามมาตรฐานกรมทางหลวง
8.1.1)กรณีทรายและหินมีหน่วยเป็นน้ำหนัก
ภาพประกอบ
8.1.2)กรณีทรายและหินมีหน่วยเป็นปริมาตร
ภาพประกอบ
8.2)อัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต Class ต่างๆ (1ลบ.ม.แน่น) ตามมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท
8.2.1)กรณีทรายและหินมีหน่วยเป็นน้ำหนัก
ภาพประกอบ
8.2.2)กรณีทรายและหินมีหน่วยเป็นปริมาตร
ภาพประกอบ
หมายเหตุ :
-ตัวเลขในวงเล็บเป็นค่ากลางที่ใช้ในการคำนวณค่ากลาง
-กรณีที่มีการออกแบบอัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีตไว้แล้ว อาจใช้อัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต ในการคำนวณราคากลาง
-ในตารางข้อ 8.1.2 เป็นค่าแนะนำในการคำนวณราคากลางโดยให้หน่วยน้ำหนักเฉลี่ยของทรายและหินมีค่า เท่ากับ 1,679 และ 1,565 กก./ลบ.ม. ตามลำดับ
-อัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต Classต่างๆ ในทั้ง 4 ตาราง ตามข้อ 8.1 และข้อ 8.2 คำนวณจากปริมาตรคอนกรีต 1 ลบ.ม. แน่น ซึ่งปริมาตรของทรายและหินที่แสดงในตารางตามข้อ 8.1.2 และข้อ 8.2.2 เป็นปริมาตรหลวม
-การคำนวณอัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต Classต่างๆนั้นจะต้องเผื่อส่วนยุบตัวและสูญเสียไว้ด้วยดังนี้
(1)เผื่อส่วนยุบตัวและสูญเสียของหิน สัดส่วน 1.15 หรือ 15%
(2)เผื่อส่วนยุบตัวและสูญเสียของทราย สัดส่วน 1.20 หรือ 20%
(3)เผื่อความสูญเสียของซีเมนต์ สัดส่วน 1.05 หรือ 5%
8.3)ในกรณีของโครงการ/งานก่อสร้างใด ที่ไม่สามารถปรับใช้อัตราส่วนของวัสดุในคอนกรีต ตามที่กำหนดในตารางข้อ 8.1 และข้อ 8.2 ได้ ให้ผู้ออกแบบโครงการ/งานก่อสร้างนั้น กำหนดอัตราส่วนหรือสัดส่วนขึ้นใหม่ตามหลักการคำนวณทางด้านวิศวกรรมโครงการ/งานก่อสร้างนั้นๆ โดยต้องระบุอัตราส่วนหรือสัดส่วนของวัสดุในคอนกรีตที่กำหนดให้ใช้ขั้นต่ำในขั้นตอนการก่อสร้างไว้ด้วย และให้ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางใช้อัตราส่วนหรือสัดส่วนของวัสดุในคอนกรีตที่กำหนดให้ใช้ขั้นต่ำนั้น ในการคำนวณราคากลาง
9)ปูนก่อและปูนฉาบ
ใช้ปูนซีเมนต์ผสมคุณภาพตามมาตรฐาน มอก.80/2517 และอัตราส่วนของวัสดุเป็นปริมาตร 1 ลบ.ม.แน่น
ปูนก่อ 1:1:3 by vol. ใช้อัตราส่วนดังนี้
ซีเมนต์ 440 กก. , ปูนขาว 220 กก. , ทราย 950ลิตร
ปูนฉาบ 1:2:5 by vol. ใช้อัตราส่วนดังนี้
ซีเมนต์ 300 กก. , ปูนขาว 300 กก. , ทราย 1,100 ลิตร
10)งานก่อผนัง
งานก่อผนังด้วยวัสดุชนิดต่างๆ ดังต่อไปนี้ คำนวณเป็นปริมาณวัสดุมวลรวม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งได้รวมเผื่อการสูญเสียไว้แล้ว
10.1)ก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น ขนาด 3.5 x 7 x 16 ซม.
อิฐมอญ 138ก้อน , ปูนซีเมนต์ (มอก.80/2517เช่นตราเสือ) 16 กก., ปูนขาว 10.29 กก. , ทรายหยาบ 0.06 ลบ.ม.
10.2)ก่ออิฐมอญเต็มแผ่น ขนาด 3.5 x 7 x 16 ซม.
อิฐมอญ 276ก้อน , ปูนซีเมนต์ (มอก.80/2517เช่นตราเสือ) 34 กก., ปูนขาว 20.59 กก. , ทรายหยาบ 0.12 ลบ.ม.
10.3)ก่ออิฐซีเมนต์บล็อค ขนาด 7 x 19 x 39 ซม.
อิฐบล็อค 13ก้อน , ปูนซีเมนต์ (มอก.80/2517เช่นตราเสือ) 6.75 กก., ปูนขาว 3.25 กก. , ทรายหยาบ 0.03 ลบ.ม.
10.4)ก่ออิฐซีเมนต์บล็อค ขนาด 9 x 19 x 39 ซม.
อิฐบล็อค 13ก้อน , ปูนซีเมนต์ (มอก.80/2517เช่นตราเสือ) 9.47 กก., ปูนขาว 5.43 กก. , ทรายหยาบ 0.04 ลบ.ม.
11)งานทำผิวหนัง
งานทำผิวผนัง กรณีปูนฉาบผิวเรียบ คำนวณเป็นปริมาณวัสดุมวลรวม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งได้รวมเผื่อการสูญเสียไว้แล้ว
ปูนฉาบผิวเรียบ หนา 1.5 ซม.
ปูนซีเมนต์ (มอก.80/2517 เช่น ตราเสือ) 8.42 กก. , ทรายละเอียด 0.03 ลบ.ม. , ปูนขาว 7.70 กก.
12)ไม้แบบหล่อคอนกรีต
ไม้แบบสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตต่างๆ ให้แบ่งตามลักษณะงาน เป็น 3 ประเภทดังนี้
(1)ไม้แบบงานทั่วไป ใช้สำหรับงานต่างๆ เช่น งาน R.C. Manhole , Catch Basins, Drop Inlet, Retaining Wall, Concrete Barriers เป็นต้น
ปริมาณงานไม้แบบงานทั่วไปหรือไม้แบบ(1) พื้นที่ 1 ตารางเมตร
ไม้กระบากหรือไม้ยางหรือเทียบเท่า 1ลบ.ฟ. , ไม้คร่าว 0.30ลบ.ฟ. , ไม้ค้ำยันไม้แบบ 0.30 ต้น , ตะปู 0.25 กก./ตร.ม. , น้ำมันทาผิวไม้ 1 ตร.ม.
ให้ลดปริมาณไม้แบบเนื่องจากใช้งานได้ประมาณ 4 ครั้ง ส่วนค่าแรงและน้ำมันทาผิวไม้ให้คิดเต็มปริมาณไม้แบบ
(2)ไม้แบบงานอย่างง่าย ใช้สำหรับงานต่างๆ เช่น Curb and Gutter , R.C. Ditchling , Concrete Slope Protection , Guide Post , R.OW. Monument , Sign Post, Kilometer Stone เป็นต้น
ปริมาณงานไม้แบบงานทั่วไปหรือไม้แบบ(2) พื้นที่ 1 ตารางเมตร
มีรายละเอียดเหมือนไม้แบบ(1) แต่ให้ลดปริมาณไม้แบบเนื่องจากใช้งานได้ประมาณ 5 ครั้ง ส่วนค่าแรงและน้ำมันทาผิวไม้คิดเต็มปริมาณไม้แบบ
(3)ไม้แบบงานสะพานและท่อเหลี่ยม
ปริมาณงานไม้แบบงานทั่วไปหรือไม้แบบ(3) พื้นที่ 1 ตารางเมตร
ไม้กระบากหรือไม้ยางหรือเทียบเท่า 1ลบ.ฟ. , ไม้อัดยางหนา 4 มม.,
ไม้เคร่า 0.30 ลบ.ฟ. , ตะปู 0.25 กก./ตร.ม. , น้ำมันทาผิวไม้ 1 ตร.ม.
และให้ดำเนินการ ดังนี้
ก)ลดค่าวัสดุไม้แบบเนื่องจากใช้งานได้ประมาณ 3 ครั้ง ส่วนค่าแรงและน้ำมันทาผิวไม้คิดเต็มปริมาณไม้แบบ
ข)เสาค้ำยันงานท่อเหลี่ยม ใช้เสาเข็มไม้ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6" x 6.00ม. ความยาวให้พิจารณาตามความเหมาะสม ส่วน Bracing ให้ใช้เสาเข็มไม้ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 4" x 4.00ม. ความยาวให้พิจารณาตามความเหมาะสม
ค)นั่งร้านปั้นจั่นและนั่งร้านรับพื้นสะพาน ให้พิจารณาเลือกใช้วัสดุตามความเหมาะสมโดยคำนึงถึงความแข็งแรงและการรับน้ำหนักของโครงสร้างขณะเทคอนกรีตได้ โดยมีการทรุดตัวไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด
ที่มา : หน้า 57 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้าง ทาง สะพานและท่อเหลี่ยม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น