เป็นหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการวัด การคำนวณปริมาณงานและเกณฑ์การเผื่อ ในการวัดและคำนวณปริมาณงานก่อสร้างทาง สะพานและท่อเหลี่ยม ดังต่อไปนี้
1)มาตรฐานการวัด (Measurement)
1.1)ถ้ามิได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น การวัดปริมาณงานต่างๆต้องเป็นไปตามข้อกพหนดในข้อ(ก) (ข) (ค) และ (ง) ดังนี้่
(ก)ขนาดของความยาวจะต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 0.10 เมตร ยกเว้นสำหรับความหนาของแผ่นพื้นที่ ซึ่งต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 0.005 เมตร ( 0.5 เซนติเมตร )
(ข)ขนาดของพื้นที่ ต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 0.01 ตารางเมตร
(ค)ขนาดของปริมาตร ต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 0.01 ลูกบาศ์กเมตร
(ง)ขนาดของน้ำหนัก ต้องวัดให้ใกล้เคียงถึง 1 กิโลกรัม
1.2)การวัเปริมาณงาน ต้องวัดปริมาณผลงานจริงที่ปรากฏในตำแหน่งนั้น (Fixed in Position)
1.3)ในกรณีที่มาตรฐานระบุถึงพื้นที่ช่องเปิดน้อยสุด ซึ่งจะทำการหักออกจากปริมาณงานทั้งหมดนั้น ช่องเปิดที่กล่าวถึงนี้หมายความถึงช่องเปิดซึ่งอยู่ภายในเส้นขอบเขตของพื้นที่ที่ทำการวัดนั้น จะต้องหักออกจากปริมาณงานทั้งหมดเสมอ
2)งานบ่อพักท่อระบายน้ำ
กรณีที่มีท่อระบายน้ำขนาดไม่เกินกว่า เส้นผ่านศูนย์ลกาง 0.30 เมตร ต่อเข้าบ่อพัก ไม่ต้องหักพื้นที่ท่อระบายน้ำออก สำหรับท่อระบายน้ำขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่านศูนย์ลกาง 0.30 เมตร ให้หักพื้นที่ท่อระบายน้ำออกด้วย
3)งานดิน
3.1)ปริมาณงานขุดดิน ให้วัดเป็นลูกบาศ์กเมตรของดิน และคิดคำนวณเนื้องานเท่ากับขนาดความยาวและความกว้างของผิวโครงสร้าง โดยเผื่อพื้นที่กันดินพังและเผื่อการทำงานห่างจากขอบนอกสุดของงานโครงสร้าง 0.50 เมตร
3.2)ปริมาณงานดินถมกลับ ให้ใช้ปริมาตรดินเดิมของหลุมที่ขุดลบด้วยปริมาตรของรูปโครงสร้าง
4)งานคอนกรีต
ให้คิดเป็นลูกบาศ์กเมตร ในการวัดเนื้องานคอนกรีต ให้คำนวณปริมาณเป็นลูกบาศ์กเมตรที่หักเนื้อ คอนกรีตบริเวณจุดต่อที่มีปริมาณซ้ำกันออก
5)งานแบบหล่อคอนกรีต (งานไม้แบบ แบบเหล็ก รวมทั้งแบบโลหะอื่นๆ)
ให้คิดคำนวณปริมาณงานเป็นตารางเมตร การวัดเนื้องานใหเ้คำนวณจากพื้นที่ผิวคอนกรีตของโครงสร้างแต่ละประเภทที่ต้องมีแบบหล่อคอนกรีตรองรับในขณะหล่อคอนกรีต (การค้ำยัน การยึด การเจาะรูเสียบเหล็ก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็น ในการทำงานให้ถูกต้องตามวิธีการ ให้รวมอยู่ในราคาต่อหน่วย)
6)งานเหล็กเสริมในคอนกรีต
การวัดเนื้องานให้คิดคำนวณตามแบบก่อสร้างที่แสดงไว้ โดยวัดปริมาณเป็นน้ำหนักและมีหน่วยเป็นกิโลกรัมหรือตัน การเผื่อเศษเสียหายให้เพิ่มปริมาณเผื่อได้ 10%
การวัดความยาวของเหล็กเสริม
ความยาวเหล็กปลอกหรือเหล็กรัดรอบที่คล้ายเหล็กปลอกให้วัดระยะจริงตามแบบ
จำนวนเหล็กปลอกให้หาเฉลี่ยจากระยะที่แสดงในแบบ เศษให้ปัดเป็น 1
ความยาวและจำนวนเหล็กเสิรมพิเศษ ให้คิดคำนวณตามที่แสดงในแบบ
ความยาวและจำนวนเหล็กเสิรมหลัก ให้คิดจำนวนตามแบบ เศษปัดเป็น 1 ส่วนความยาวให้คิดตามรูปที่กำหนดในแบบ
ระยะงอ ระยะทาบ หากไม่ระบุในแบบ ให้ใช้ตามมาตรฐาน วสท.
7)งานเหล็กรูปพรรณ
การวัดเนื้องาน ให้คิดคำนวณปริมาณงานตามที่แสดงไว้ในแบบ และคำนวณเนื้องานเป้นน้ำหนัก(กก. หรือ ตัน) การเผื่อเศษเสียหายให้เพิ่มปริมาณเผื่อได้ 10% กรณีเป็นเหล็กแผ่นซึ่งตัดเป็นรูปต่างๆ ให้เผื่อได้ 20%
ที่มา : หน้า55 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้าง ทาง สะพานและท่อเหลี่ยม กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น