การคิดต้นทุนค่างานไม้แบบสำหรับการก่อสร้าง งานทาง สะพานและท่อเหลี่ยม แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1)งานไม้แบบสำหรับงานทั่วไป
คิดปริมาณงานไม้แบบเฉลี่ยที่ใช้ต่อปริมาณงานพื้นที่ไม้แบบต่อ 1 ตารางเมตร จากนั้นจึงคำนวณค่าวัสดุไม้แบบที่ใช้ต่อพื้นที่ไม้แบบ 1 ตารางเมตร รวมด้วยค่าแรงประกอบ-ติดตั้ง-รื้อไม้แบบ และ ค่าน้ำมันทาผิวแบบ
ปริมาตรและจำนวนของวัสดุไม้แบบประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆดังนี้
ไม้กระบากหรือไม้ยาง(ลบ.ฟ.) , ไม้คร่าว(ลบ.ฟ.) , ไม้ค้ำยันไม้แบบ ขนาด ศก.4" x 4.00ม.(ต้น) , ตะปู(กก.)
มีสมมติฐานใช้งานประมาณ 4 ครั้ง จึงนำปริมาตรและจำนวนวัสดุทำไม้แบบนี้ หารด้วย 4 จะเป็นปริมาตรและจำนวนวัสดุไม้แบบต่อ 1 ตารางเมตร
ต้นทุนค่าไม้แบบ(บาท/ตร.ม.) = ค่าวัสดุทำไม้แบบ(บาท/ตร.ม.) + ค่าแรงประกอบ-ติดตั้ง-รื้อ (บาท/ตร.ม.) + ค่าน้ำมันทาแบบ(บาท/ตร.ม.)
2)งานไม้แบบสำหรับงานอย่างง่าย
รายละเอียดคิดแบบ1) โดยมีสมมติฐานว่าใช้งาได้ประมาณ 5 ครั้ง
3)งานไม้แบบสำหรับงานสะพานและท่อเหลี่ยม
คิดแบบประเภท1)โดยเปลี่ยนรายการวัสดุงานไม้แบบเป็น ไม้กระบากหรือไม้ยาง(ลบ.ฟ.) , ไม้อัดยางหนา 4 มม. , ไม้คร่าว 0.30 ลบ.ฟ. , ตะปู 0.25 กก. โดยมีสมมติฐานว่าใช้งานประมาณ 3ครั้ง
ตัวอย่าง ในทางปฏิบัติ
1)คำนวณปริมาณงานไม้แบบ และ คอนกรีตสำหรับชิ้นงาน นั้น
2)คำนวณค่างานประกอบ-ติดตั้ง-รื้อแบบหล่อทั้งหมด โดยใช้ค่าประกอบแบบต่อตร.ม.จากบัญชีค่าแรงของกรมบัญชีกลาง คุณกับพื้นที่แบบหล่อจากข้อ1)
3)คำนวณค่าวัสดุไม้แบบทั้งหมด = พื้นที่แบบหล่อทั้งหมด x สถิติการใช้ปริมาตรไม้แบบต่อตร.ม.ของพื้นที่ผิวแบบหล่อ x ราคาไม้แบบต่อลบ.ม. หารด้วยจำนวนครั้งที่ใช้แบบหล่อนั้น เช่น 2 ครั้ง
ราคาไม้แบบต่อลบ.ม. นำมาจากค่าเฉลี่ยของราคาไม้ยาง 1.5"x3"x4ม. และไม้กระบาก1"x6"-8"x4ม.
4)ค่างานไม้แบบทั้งหมด =2)+3)
ทั้งนี้หากวัสดุแบบหล่อเป็นวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ไม้ตามรายการข้างต้น สามารถทำการดัดแปลงได้ เช่น แบบหล่อวัสดุเหล็ก
ที่มา : หน้า 24 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้าง ทาง สะพานและท่อเหลี่ยม กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น