ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกมากว่าพื้นที่อื่นจะมีผลทำให้มีชั่วโมงการทำงานที่น้อยกว่าพื้นที่ปกติ ดังนั้นค่าอำนวยการจะสูงขึ้น และยังกระทบต่อค่าการครอบครองเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน จึงต้องคำนวณค่าชดเชยอันเนื่องมาจากฝนตกชุกนี้
การจำแนกFactor F ตามปริมาณสถิติฝนตกชุก แบ่งเป็น3ประเภทคือ
1)ฝนตกชุก1 คือ จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยต่อปีเกิน 1,600มม. และมีระยะเวลาฝนตกติดต่อกันเฉลี่ย 1เดือน ได้แก่จังหวัด จันทบุรี ชุมพร เชียงราย ตรัง นครพนม นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ปัตตานี พัทลุง สงขลา สตูล สุรษฏร์ธานี หนองคาย
2)ฝนตกชุก1 คือ จังหวัดที่มีปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ยต่อปีเกิน 1,600มม. และมีระยะเวลาฝนตกติดต่อกันเฉลี่ยเกิน 1เดือน ได้แก่จังหวัด ตราด นราธิวาส พังงา ภูเก็ต ยะลา ระนอง
3)ฝนตกปกติ คือจังหวัดที่เหลือซึ่งมิใช่จังหวัดที่ถูกนิยามเป็นฝนตกชุก 1 และ ฝนตกชุก2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น