ในหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร นอกจากต้องคำนวณหาปริมาณงานและหรือวัสดุของแต่ละรายการงานก่อสร้างตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในส่วนของมาตรฐานวัดและคำนวณปริมาณงาน และในส่วนของหลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคารแล้ว ในบางรายการงานก่อสร้างจำเป็นต้องคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการก่อสร้างที่เป็นจริง นอกจากนี้ในการคำนวณปริมาณงาน และหรือคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุของบางรายการงานก่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงานโครงสร้างวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ก็ยังมีความจำเป็นต้องคำนวณในลักษณะของปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วยด้วย
ในการคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุในงานก่อสร้างอาคารนั้น บางรายการงานก่อสร้างได้กำหนดรายละเอียดไว้แล้วในส่วนของหลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานงานก่อสร้างอาคาร ส่วนรายการงานก่อสร้างอื่นที่จำเป็นต้องคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุ และหรือต้องคำนวณปริมาณงานในลักษณะของปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วย ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในส่วนของหลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานงานก่อสร้างอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงานโครงสร้างวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ก็ให้ใช้ตามรายการและหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังต่อไปนี้
เกณฑ์การเผื่อ
1)งานขุดดินฐานรากและถมคืน ให้คำนวณเผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%
2)งานวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับและงานถมบริเวณ ให้คำนวณเปื่อปริมาณงาน ดังนี้
2.1)งานวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ ให้คิดคำนวณเผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดด้วยแรงคน
2.1.1)งานถมทรายรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อ 25%
2.1.2)งานดินรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อ 30%
2.1.3)งานดินลูกรังรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อ 35%
2.1.4) งานอิฐหักรองพื้นหรือปรับระดับ เผื่อ 25%
2.2)งานถมบริเวณ คิดคำนวณเผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดด้วยเครื่องจักร
2.2.1)งานถมทราย เผื่อ 40%
2.2.2)งานถมดิน เผื่อ 60%
2.2.3)งานถมดินลูกรัง เผื่อ 60%
2.2.4)งานถมอิฐหัก เผื่อ 50%
3)งานแบบหล่อคอนกรีต ให้คิดคำนวณเผื่อปริมาณงาน ดังนี้
3.1)งานแบบหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
3.1.1)งานแบบหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้คำนวณปริมาณเป็นจำนวนตารางเมตร โดยไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณ
3.2)งานไม้แบบหล่อคอนกรีต
3.2.1)ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ปริมาตรประมาณ 1 ลบ.ฟ.
3.2.2)ไม้เคร่ายึดไม้แบบ ให้คิดคำนวณ 30%ของปริมาณไม้แบบ
3.2.3)ไม้ค้ำยันไม้แบบ
3.2.3.1)ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคาน ให้คิดคำนวณ 1 ต้น/ความยาว 1 เมตร
3.2.3.2)ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้น ให้คิดคำนวณ 1 ต้น/ตารางเมตร
3.2.4)ตะปูยึดไม้แบบ ให้คิดคำนวณ 0.25 กิโลกรัม/ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
3.3)การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต เนื่องจากใช้งานหลายครั้ง
3.3.1)อาคารชั้นเดียว ลด 20% ใช้ 80%
3.3.2)อาคาร 2 ชั้น ลด 30% ใช้ 70%
3.3.3)อาคาร 3 ชั้น ลด 40% ใช้ 60%
3.3.4)อาคาร 4 ชั้นขึ้นไป ลด 50% ใช้ 50%
การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต ให้ลดลงเฉพาะปริมาณวัสดุไม้แบบ ไม้เคร่ายึดไม้แบบ และไม้ค้ำยัน เท่านั้น ส่วนค่าแรงงานให้คิดคำนวณเต็มตามปริมาณพื้นที่ไม้แบบหล่อคอนกรีตทั้งหมด
4)การเผื่อของเหล็กเสริม เนื่องจากการใช้เหล็กเสริมแต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบและเหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ต้องมีการทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเสียเศษใช้งานไม่ได้ จึงกำหนดให้คิดคำนวณเผื่อปริมาณตามเกณฑ์ดังนี้
-เหล็กเสริมเส้นกลมผิวเรียบ ขนาด
Dia 6 มม. เผื่อ 5%
Dia 6 มม. เผื่อ 5%
-เหล็กเสริมเส้นกลมผิวเรียบ ขนาด
Dia 12 มม. เผื่อ 9%
Dia 15 มม. เผื่อ 11%
Dia 19 มม. เผื่อ 13%
Dia 25 มม. เผื่อ 15%
Dia 28 มม. เผื่อ 15%
Dia 32 มม. เผื่อ 15%
-เหล็กเสริมเส้นกลมผิวข้ออ้อย ขนาด
Dia 10 มม. เผื่อ 7%
Dia 12 มม. เผื่อ 9%
Dia 16 มม. เผื่อ 11%
Dia 20 มม. เผื่อ 13%
Dia 22 มม. เผื่อ 15%
Dia 25 มม. เผื่อ 15%
Dia 28 มม. เผื่อ 15%
Dia 32 มม. เผื่อ 15%
5)ลวดผูกเหล็กเสริม ให้คิดคำนวณ 30 กก./น้ำหนักเหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
6)ปริมาณตะปูสำหรับงานประเภทต่างๆ
6.1)งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้ ใช้ 0.20 กก./ตร.ม.
6.2)งานติดตั้งโครงหลังคาไม้
6.2.1)ทรงเพิงแหงน ใช้ 0.20 กก./ตร.ม.
6.2.2)ทรงจั่ว 0.20 กก./ตร.ม.
6.2.3)ทรงปั้นหยา 0.25 กก./ตร.ม.
6.2.4)ทรงไทย 0.30 กก./ตร.ม.
ที่มา : หน้า 137 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น