วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

70 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม(1/2)

     หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม
     1)งานมุงหลังคา
     1.1)วัสดุมุงหลังคา
     -กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ชนิดลอนคู่ขนาด 0.54 x 1.20 ม. หรือที่มีขนาด ชนิด และหรือคุณลักษณะเทียบเท่าหรือใกล้เคียง การคำนวณหาปริมาณวัสดุมุงหลังคาดังกล่าวต้องคำนวณหักความกว้างของแผ่นวัสดุที่ต้องซ้อนทับทั้งด้านกว้างและด้านยาว ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของกระเบื้องแต่ละชนิดหรือตามแบบรูปรายการ เมื่อได้จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้มุงหลังคาทั้งหมดแล้ว ให้เผื่อเปอเซนต์ที่อาจจุแตกหักจากการกอง เก็บ หรือ จากการทำงาน 3% สำหรับหลังคาทรงจั่ว ทางเพิง และ 5%สำหรับทรงปั้นหยา ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นกระเบื้องที่ต้องใช้ทั้งหมด มีหน่วยเป็น x แผ่น
     -กระเบื้องคอนกรีตขนาด 0.23 x 0.42 ม. หรือที่มีขนาด ชนิด และหรือคุณลักษณะเทียบเท่าหรือใกล้เคียง  การคำนวณหาปริมาณวัสดุดังกล่าว ให้คำนวณหาพื้นที่ตามแนวลาดเอียงของหลังคา เมื่อได้พื้นที่โดยรวมทั้งหมดแล้ว ให้คูณด้วยจำนวนแผ่นกระเบื้องต่อ 1 ตารางเมตรตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของกระเบื้องแต่ละชนิด หรือตามรูปแบบรายการ เมื่อได้จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้มุงหลังคาทั้งหมดแล้ว ให้เผื่อเปอเซนต์ที่อาจจะแตกหักจากการกอง เก็บ หรือจากการทำงาน 3% สำหรับหลังคาทรางจั่ว ทรงเพิง และ5% สำหรับทรงปั้นหยา ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นกระเบื้องที่ต้องใช้ัทั้งหมด มีหน่วนเป็น x แผ่น
     1.2)การคำนวณหาปริมาณวัสดุมุงครอบสันชนิดต่างๆ เช่น ครอบสันองศา ครอบสันปรับมุม กระเบื้องลอนคู่ ลอนเหล็ก หรือครอบสันโค้ง ครอบสันตะเข้ ครอบข้างหน้าจั่ว ครอบข้างชนผนัง เป็นต้น ให้คำนวณหาความยาวรวมแล้วหักระยะซ้อนทับของกระเบื้องแต่ละชนิดตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของกระเบื้องแต่ละชนิด หรือตามแบบรูปรายการ เพื่อจะหาจำนวนครอบมุมที่ต้องใช้ทั้งหมด แล้วเผื่อจำนวนที่อาจจะแตกหักเพราะการกอง เก็บ หรือจากการทำงาน 3% ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนที่จะต้องใช้ทั้งหมด มีหน่วยเป็น x แผ่น
     1.3)การคำนวณหาปริมาณอุปกรณ์ยึดวัสดุมุงหลังคาและหรือยึดครอบมุม ให้คำนวณตามชนิด ขนาด และความยาวของวัสดุยึดวัสดุมุงหลังคาและหรือยึดครอบมุม แล้วรวมยอดแต่ละชนิด ได้เป็นปริมาณอุปกรณ์ยึดวัสดุมุงหลังคาและหรือยึดครอบุมทั้งหมด โดยให้พิจารณารายละเอียดจากแบบแปลน แบบก่อสร้าง และหรือรายการประกอบแบบ
     1.4)การคำนวณหาพื้นที่มุงหลังคา ให้คำนวณพื้นที่มุงหลังคาตามแนวลาดเอียงของหลังคาจะได้พื้นที่เป็น x ตร.ม.  เพื่อนำไปคำนวณค่าแรงงานตามวัสดุมุงหลังคาแต่ละชนิดต่อไป
     2)งานฝ้าเพดาน
     2.1)การคำนวณปริมาณงานฝ้าเพดาน ให้คำนวณโดยการหาพื้นที่ตามระยะความกว้างคูณความยาว ที่กำหนดในแบบแปลน แบบก่อสร้าง โดยแยกรายการตามชนิดของฝ้าเพดานชนิดต่างๆ เช่น ฝ้ายิบซั่มบอร์ดหนา 9 มม. ฉาบรอยต่อเรียบ โครงเคร่าทีบาร์ขนาด 0.60 x 0.60 ม. ฝ้ายิบซั่มบอร์ดหนา 9 มม. ฉาบรอยต่อเรียบ โครงเคร่าเหล็กชุบสังกะสี  ฝ้าอลูมิเนียมอยสีรูปตัวซี ยึดเว้นรองโครงเคร่า ตามมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น  เมื่อรวมพื้นที่ฝ้าเพดานทุกชนิด จะได้เป็นปริมาณฝ้าเพดานทั้งหมด เป็นจำนวน x ตร.ม.
     3)งานผนังและตกแต่งผิวผนัง
     3.1)งานผนัง การคำนวณปริมาณงานผนัง หมายถึงการคำนวณหาพื้นที่ผนัง วัสดุก่อสร้างและหรือวัสดุชนิดแผ่นตียึดโครงเคร่าชนิดต่างๆ เช่น ผนังไม้อัดซีเมนต์ ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ผนังยิบซั่มบอร์ด ผนังไม้เทียมสำเร็จรูป ผนังก่ออิฐ ผนังกระเบื้องแผ่นเรียบ ผนังไม้อัด เป็นต้น ให้คำนวณโโยการคำนวณหาพื้นที่ตามระยะที่กำหนดในแบบแปลน แบบก่อสร้าง และหรือระบะที่วัดได้จริง แล้วรวมกันเป็นงานผนังทั้งหมดจำนวน x ตร.ม.หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม
     3.2)งานฉาบปูน การคำนวณหาปริมาณงานฉาบปูนมีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยให้คำนวณพื้นที่ของงานฉาบปูนแต่ละประเภท แต่ละงาน หรือแต่ละส่วน ตามระยะที่กำหนดในแบบแปลนหรือระยะที่วัดได้จริง เช่น งานผนังฉาบปูนเรียบ งานฉาบปูนเพดาน และงานฉาบปูนโครงสร้าง เป็นต้น แล้วรวมกันเป็น x ตร.ม.
     3.3)งานวัสดุผิวผนัง การคำนวณหาปริมาณงานมีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยคำนวณแยกเป็นปริมาณของวัสดุบุผนังปต่ละชนิดหรือแต่ละแบบ ตามขนาด ชนิด แบบ และหรือคุณลักษณะที่ต่างกันตามที่กำหนดในแบบแปลนหรือรายการประกอบแบบ เช่น ผนังบุกระเบื้องดินเผาเคลือบเซรามิคขนาด 8"x8",8"x10" ผนังบุหินออ่อนขนาด 0.30 x 0.60 ม. ผนังหินทรายล้าง ผนังทำหินล้าง เป็นต้น เมื่อคำนวณหาพื้นที่ของวัสดุแต่ละชนิดหรือแต่ละแบบแล้ว ให้รวมกันได้เป็น x ตร.ม.
     4)งานทำพื้น
     4.1)งานทำพื้นไม้ เป็นการคำนวณหาปริมาณไม้ที่ใช้ทำคาน ตง และพื้น มีหน่วยเป็น x ลบ.ฟ.
     -การคำนวณความยาวของไม้แต่ละอย่างนั้น ต้องเผื่อความยาวไม้ให้พอกับการก่อสร้างจริง โดยความยาวของไม้แปรรูปในท้องตลาด กรณีไม้ขนาดหน้าตัดเล็กจะมีความยาวตั้งแต่ 1.00ม. 1.50ม. 2.00ม. และไม่เกิน 6.00ม. เช่น ไม้ขนาด 1-1/2" x 3" เป็นต้น ส่วนไม้หน้าตัดใหญ่หรือกว้าง เช่น 2" x 8" เป็นต้น จะมีความยาวตั้งแต่ 2.00 ม. ถึง 8.00ม.ทั้งนี้ในการคำนวณปริมาณให้เพิ่มความยาวขึ้นหน่วยละ 50 เซนติเมตร
     ด้วยเหตุนี้ ผู้มีหน้าที่คำนวณจึงต้องระทัดระวังในเรื่องความยาวของไม้ เพราะถ้าความยาวไม้แต่ละขนาดไม่ลงตัวหรือไม่พอดีกับการใช้งานก่อสร้าง จะต้องเพิ่มความยาวขึ้นอีก 50 เซนติเมตร ดังกล่าว
     -การคำนวณปริมาณอุปกรณ์ยึดคาน ตง ซึ่งได้แก่ แผ่นเหล็กประกับ น๊อตสกรู สำหรับยึดขนาดต่างๆ เป็นต้น ให้คำนวณหาจำนวนจากแบบแปลน รายการประกอบแบบ และหรือแบบขยาย
     -การคำนวณหาปริมาณงานทำพื้นไม้ ให้คำนวณตามแนวราบ โดยใช้ความกว้างคูณความยาว ก็จะได้งานทำพื้นไม้ มีหน่วยเป็น x ตร.ม. เพื่อนำไปคำนวณค่าแรงงานในการประกอบและติดตั้งงานทำพื้นไม้
     4.2)งานวัสดุผิวพื้น การคำนวณหาปริมาณงานวัสดุผิวพื้น มีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยให้คำนวณแยกเป็นปริมาณวัสดุผิวพื้นแต่ละประเภทหรือชนิด เช่น พื้นปูกระเบื้องดินเผาเคลือบเซรามิค ขนาด 12" x 12"  พื้นปูหินอ่อน ขนาด 0.30 x 0.60 ม.  พื้นทำหินล้าง  พื้นที่ทรายล้าง เป็นต้น  แล้วคำนวณพื้นที่กว้าง x ยาว ตามระยะที่กำหนดไว้ในแบบแปลน เมื่อรวมพื้นที่วัสดุผิวพื้นทุกประเภทหรือชนิด จะได้ปริมาณงานวัสดุผิวพื้นทั้งหมด เป็น x ตร.ม.
     4.3)งานบัวเชิงผนัง การคำนวณหาปริมาณงานบัวเชิงผนังมีหน่วยเป็นเมตร โดยให้คำนวณแยกเป็นปริมาณของวัสดุทำบัวเชิงผนังแต่ละประเภทหรืองาน เช่น บัวเชิงผนังไม้ บัวเชิงผนังหินขัด บัวเชิงผนังหินล้าง เป็นต้น แล้วคำนวณหาความยาวของวัดุที่ใช้ทำบัวเชิงผนังของแต่ละประเภทหรืองาน โดยวัดระยะตามแบบแปลน เมื่อรวมปริมาณของวัสดุทำบัวเชิงผนังแต่ละประเภทหรืองาน จะได้ปริมาณงานบัวเชิงผนังทั้งหมด x เมตร

ที่มา : หน้า 95 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น