2.5)การแยกงานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพื่อคำนวณราคาของงานเครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆจะต้องเข้าใจในระบบนั้นๆ ว่าหมายถึงอะไร และทำงานอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึงระบบต่างๆดังนี้
2.5.1)ระบบเครนและรอกในการขนถ่ายวัสดุ(Crane and Hoist)
2.5.2)ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน(Elevator and Escalator)
2.5.3)ระบบลิฟต์เพื่อการก่อสร้าง(Construction Lift)
2.5.4)ระบบสายพานลำเลียงวัสดุ(Conveyer)
2.5.5)ระบบก๊าซเชื้อเพลิงLPG
2.5.6)ระบบก๊าซทางการแพทย์
2.5.7)ระบบก๊าซอัดแรงสูง
2.5.8)ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม
2.5.9)ระบบขนส่งโดยท่อลม
2.5.10)ระบบไฮดรอลิค(Hydraulic System)
2.5.11)เครื่องจักรกลหนัก
2.5.12)สถานีสูบน้ำระบายน้ำ(Pumping Station)
2.5.13)ระบบหม้อกำเนิดน้ำและหม้อน้ำร้อน
2.5.14)อื่นๆ
เครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆ ดังกล่าว ปกติจะเป็นระบบทางเครื่องกลที่ค่อนข้างจะพิเศษ จะพบในโครงการ/งานก่อสร้างอาคารโรงงาน โรงพยาบาล เป็นต้น และอาจมีระบบเดียวหรือหลายระบบ ขึ้นอยู่กับรูปรายการและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ผู้ถอดแบบคำนวณราคาจึงต้องทำความเข้าใจในหลักการต่างๆของระบบจึงจะสามารถดำเนินการถอดแบบคำนวณราคาได้อย่างถูกต้อง ในการสำราจและแยกรายการ/งานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนของเครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆ ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้โดยแยกการพิจารณา ออกเป็น 2 ส่วน คือวัสดุอุปกรณ์ที่นับจำนวนได้และวัสดุอุปกรณ์ที่วัดเป็นปริมาณงาน โดยสามารถทำความเข้าใจได้จากตัวอย่างการสำรวจและแยกรายการ/'านและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ของงานระบบเครนและรอก ในการขนถ่ายวัสดุ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 อุปกรณ์ที่นับจำนวนได้ จะประกอบด้วย
-ชุดเครนพร้อมมอเตอร์และชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนครบชุด จำนวนกี่ชุด ขับเคลื่อนกี่ทิศทาง ยกสูงกี่เมตร ยกน้ำหนักได้เท่าใด การเคลื่อนไหวที่แนวดิ่งและแนวราบด้วยความเร็วเท่าใด ขนาดมอเตอร์กี่แรงม้า ระบบไฟฟ้าเป้นระบบอะไร จำนวนเท่าใด เป็นต้น
ส่วนที่ 2 อุปกรณ์ที่วัดเป็นปริมาณ ประกอบด้วย
-เหล็กโครงส้ราง I-Beam ขนาดเท่าไร ยาวกี่เมตร
-เหล็กโครงสร้าง C-Chanel ขนาดเท่าไร ยาวกี่เมตร
-อุปกรณ์ถ่ายน้ำหนัก
-ระบบไฟฟ้า สายไฟฟ้าแบบไหน เคลื่อนที่ตามได้กี่เมตร
ทั้งนี้ อุปกรณ์วัดเป็นปริมาณดังกล่าว ผู้ถอดแบบคำนวณราคาสามารถวัดปริมาณงานได้จากแบบรูปรายการ ซึ่งจะต้องพิจารณาเผื่อการสูญเสียจากการตัดต่อ การป้องกันสนิม การเก็บวัสดุ รวมทั้งการจัดซื้อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
3)วิธีการและแนวทางการคำนวณราคา
3.1)ในการสำรวจเพื่อกำหนดปริมาณจะต้องแยกเนื้องานออกเป็นระบบๆที่เป็นอิสระจากกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรวบรวมราคา
ในระบบเครื่องกลจะแยกออกเป็นระบบต่างๆ(ตามข้อ2.5) โดยวัสดุอุปกรณ์ในแต่ละระบบจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วน ได้แก่
-วัสดุอุปกรณ์ที่นับจำนวนได้ เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลมระบายอากาศ ปั๊มน้ำ วาล์ว ถังกรองเคมี หอผึ่งหรือคูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นต้น
-วัสดุที่นับจำนวนไม่ได้ต้องใช้วิธีการวัดปริมาณเนื้องาน เช่น งานเดินท่อน้ำยาระบบปรับอากาศ การเดินสายไฟกำลังในระบบปรับอากาศ การเดินท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน ท่อไอน้ำ การเดินท่อลม รางเลื่อนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะต้องใช้วิธีการวัดปริมาณและจะต้องมีการเผื่อปริมาณงานดังที่ได้กล่าวข้างต้นด้วย
3.2)การจัดทำรายการปริมาณวัสดุิุปกรณ์เพื่อการประมาณหรือคำนวณราคา ควรจะมีตารางประกอบการดำเนินการ ซึ่งอาจจัดทำเป็นตารางแยกปริมาณวัสดุอุปกรณ์แบบนับจำนวนได้ และตารางแยกปริมาณวัสดุแบบวัดเป็นปริมาณงาน เพื่อประกอบการดำเนินการด้วย เมื่อได้ปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆแล้ว ก็นำไปคำนวณหาค่าวัสดุและค่าแรงต่อไป
3.3)ในการถอดแบบควรมีการเก็บรวบรวมเป้นสถิติไว้ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการถอดแบบคำนวณราคาในครั้งต่อไป หรือเพื่อใช้ในการตรวจสอบ(Checked Figure) และชี้แจงข้อเท็จจริง เช่น การติดตั้งระบบอากาศแบบแยกส่วน จะมีค่าคงทีในการดำเนินการติดตั้งของระบบท่อเป็นอัตราประมาณ 2,000บาท/ตันความเย็นซึ่งเป็นตัวเลขที่เกิดจากการเดินท่อน้ำยาว 4 เมตร เป็นต้น
3.4)การคำนวณราคาในงานระบบเครื่องกลพิเศษอื่นๆ จะต้องดำเนินการในลักษณะและวิธีการเช่นเดียวกันกับการถอดแบบคำนวณราคางานระบบปรับอากาศ รวมทั้งควรทำการตรวจสอบรายการที่คำนวณราคาซ้ำด้วย
3.5)ค่าแรงงาน เป็นตัวเลขที่ยุ่งยากต่อการคำนวณราคา เพราะค่าแรงงานช่างจะขึ้นอยู่กับอายุงาน ฝีมือ และประสบการณ์ อีกทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน ช่างแต่ละคนทำงานชิ้นเดียวกันในเวลาไม่เท่ากัน ในการคำนวณค่าแรงงานไม่ควรจะคำนึงถึงเฉพาะเนื้องานที่ต้องทำเท่านั้น ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย เช่น การประสานงาน การสั่งวัสดุ การส่งของ และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการหยุดงานของคนงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆขณะทำงาน เพราะฉะนั้นในการคำนวณราคาที่ดี จะต้องใช้เวลาที่เป็นเวลาเฉลี่ยในการทำงาน เพราะถ้าไม่ใช้ค่าเฉลี่ยแล้ว ตัวแปรค่าแรงงานจะควบคุมราคากลางไม่ได้ โดยทั่วไปเรามักจะนำค่าแรงงานจากตัวเลขอัตรา Man Hour, Man Day, Man Month และในบางส่วนก็จะใช้ตัวเลขจากค่าเฉลี่ยเป็น บาท.เมตร, บาท/ตารางเมตร หรือ บาท/ชุด และอาจทำเป็นลักษณะงานเหมาเลยคือ บาท/ชิ้นงาน ในปัจจุบันนิยมใช้ค่าแรงงานในลักษณะ บาท/ชิ้นงาน เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากสามารถควบคุมราคางานได้ดีกว่า เพราะถ้าเป็นงานเหมา คนงานมักจะดำเนินการในส่วนของตนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้ทำชิ้นงานอื่นเพิ่มต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง กำหนดให้ใช้ค่าแรงงานตามบัญชีค่าแรงงาน/ค่าดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
4)การจัดทำรายการปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพื่อการคำนวณราคา
เมื่อได้รายละเอียดปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆแล้ว ในขั้นตอนต่อมาก็คือ การนำรายการรวมทั้งปริมาณวัสดุอุปกรณ์ มากำหนดไว้แบบหรือตารางการคำนวณราคา (แบบ ปร.4) เพื่อคำนวณราคาต่อไป
ในการคำนวณราคาสำหรับแต่ละรายการนั้น ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างมรข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง คือ ค่าวัสดุ และหรือค่าแรงงาน โดยในส่วนของค่าวัสดุ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ส่วนค่าแรงงานให้ใช้ตามบัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
ที่มา : หน้า 134 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น