ในการคำนวณปริมาณงานในส่วนของงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ให้ดำเนินการตามแนวทางดังต่อไปนี้
1)ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์แบบรูปรายการ รวมทั้งรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้รวมทั้งการติดตั้ง
1.1)งานระบบสุขาภิบาล ดับเพลิง และป้องกันอัคคีภัย ประกอบด้วย
-ระบบท่อระบายน้ำโสโครก
-ระบบท่อระบายน้ำทิ้ง
-ระบบท่อระบายอากาศ
-ระบบท่อน้ำประปา
-ระบบท่อน้ำร้อน
-ระบบท่อระบายน้ำฝน
-ระบบท่อดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
-ระบบสุขาภิบาลภายนอกอาคาร
-ระบบบำบัดน้ำเสีย
-ระบบระบายน้ำผังบริเวณ
-ระบบรดน้ำต้นไม้
1.2)รายละเอียดของรูปแบบรายการ และรายการประกอบแบบ ในส่วนของงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย จะประกอบด้วยระบบต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ออกแบบจะจำแนกแบบ ออกเป็นดังนี้
-แบบแปลนผังบริเวณ
-แบบแปลนการเดินท่อพื้นชั้นต่างๆ
-แบบขยายห้องน้ำชั้นต่างๆ
-แบบขยายไอโซเมตริกห้องน้ำชั้นต่างๆ
-แบบขยายไดอะแกรมท่อระบบสุขาภิบาลแนวดิ่ง
-แบบมาตรฐานการติดตั้งท่อและอุปกรณ์ระบบสุขาภิบาล
-แบบแปลนการเดินท่อดับเพลิงชั้นต่างๆ
-แบบขยายไดอะแกรมท่อดับเพลิงในแนวดิ่ง
-แบบมาตรฐานการติดตั้งท่อดับเพลิงชั้นต่างๆ
-แบบมาตรฐานบ่อพักน้ำเสียและท่อรับน้ำเสีย
-แบบมาตรฐานบ่ิอดักขยะและดักไขมัน
-แบบมาตรฐานบ่อบำบัดน้ำเสียชนิดหล่อกับที่หรือชนิดสำเร็จรูป
2)การถอดแบบสำรวจและคำนวรหาปริมาณของวัสดุและอุปกรณ์ในส่วนของงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย สามารถดำเนินการได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
2.1)วัสดุอุปกรณ์ที่นับได้
-เป็นการสำรวจหาปริมาณวัสดุอุปกรณ์ระบบสุขาภิบาลที่ถอดเป็นจำนวนนับได้ เช่น จุกเปิดล้างท่อที่พื้น(FOD) จุกเปิดล้างท่อใต้พื้น(CO) รูระบายน้ำทิ้งที่พื้น(FD) รูระบายน้ำฝนรูปโดม(RD) รูระบายน้ำฝนแบบเรียบ(RFD) ฝาปิดท่อระบายอากาศ(AVC) ถังเก็บน้ำสำเร็จรูป เครื่องสูบน้ำ มาตรวัดน้ำ ประตูน้ำลิ้นเกต ประตูน้ำลิ้นปีกผีเสื้อ ประตูน้ำกันกลับ ประตูน้ำระบายอากาศ ก๊อกน้ำ ถังบำบัดน้ำเสีย ถังดักไขมัน บอพัก เป็นต้น
-เป็นการสำรวจหาปริมาณวัสดุอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยที่ถอดเป็นจำนวนนับได้ เช่น ตู้ดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์ประกอบ(FHC) ถังดับเพลิงเคมี หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ(Automatic Sprinklers) เครื่องสูบน้ำ ประตูน้ำชนิดต่างๆ หัวรับน้ำดับเพลิง(RMF) หัวจ่ายน้ำดับเพลิง(SMC) เป็นต้น
2.2)วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องวัดความยาว
-เป็นการสำรวจหาปริมาณวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องวัดความยาว ได้แก่ งานเดินท่อท่อระบายน้ำโสโครก ท่อระบายน้ำทิ้ง ท่อระบายอากาศ ท่อน้ำประปา ท่อน้ำร้อนท่อระบายน้ำฝน ท่อดับเพลิง ท่อรวบรวมน้ำเสีย ท่อระบายน้ำ ท่อรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น จะถอดเป็นเมตร โดยจะเริ่มสำรวจปริมาณจากแบบไดอะแกรมท่อและแปลนการเดินท่อพื้นชั้นต่างๆ โดยแยกเป็นท่อของแต่ละระบบ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการจัดทำข้อมูลลงแบบ ปร.4
-ผู้ถอดแบบสำรวจหาปริมาณวัสดุและอุปกรณ์ จำเป็นต้องศึกษาแบบรูปรายการ รายการประกอบแบบ และข้อกำหนดต่างๆ ในงานที่จะทำการก่อสร้าง ทั้งนี้ เพื่อให้มีความถูกต้องและมีรายการครบถ้วนตรงตามวัตถุประสงค์ที่หน่วยงานภาครัฐต้องการจัดจ้าง
3)ชนิดของท่อที่ใช้ในงานระบบสุขาภิบาลและรบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
3.1)ท่อระบายน้ำโสโครก ใช้เหล็กหล่อหรือท่อ PVC ความลาดตามแนวนอนไม่น้อยกว่า 1:75
3.2)ท่อระบายน้ำทิ้ง ใช้เหล็กกล้าอาบสังกะสีหรือท่อ PVC ความลาดแนวนอนไม่น้อยกว่า 1:75
3.3)ท่อระบายอากาศ ใช้ท่อเหล็กอาบสังกะสีหรือท่อPVC
3.4)ท่อประปาส่วนที่ต่อกับเครื่องสูบน้ำ ถังน้ำ ท่อเมนแนวดิ่งในช่องท่อ ใช้ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี สำหรับท่อส่วนที่ฝังดินและท่อห้องน้ำต่างๆ ที่แยกย่อยมาจากท่อเมน ใช้ท่อPB หรือท่อPVC
3.5)ท่อระบายน้ำฝน ใช้ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสีหรือท่อPVC
3.6)ท่อดับเพลิง ใช้ท่อเหล็กดำมาตรฐานASTM หรือท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี
3.7)ท่อรับน้ำเสีย ใช้ท่อHDPE
3.8)ท่อระบายน้ำบริเวณ ใช้ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
4)หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณท่อและอุปกรณ์ ในงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงป้องกันอัคคีภัย
4.1)การคำนวณท่อในแนวนอนและแนวดิ่ง ให้คำนวณความยาวรวมเป็นเมตรของท่อแต่ละชนิดและขนาดของท่อต่างๆ โดยเผื่อความยาวท่อ 10% เนื่องจากการเสียวัสดุจากการตัดท่อ
-ค่าแรงงานเดินท่อให้คำนวร 30%ของราคาวัสดุ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 20บาทต่อเมตร อัน หรือ ข้อต่อ เนื่องจากท่อและอุปกรณ์ข้อต่อ ข้องอ บางขนาด ต้องฝังในพื้นและผนังทำให้ค่าแรงงานสูงขึ้น
4.2)ข้อต่อ ข้องอต่างๆ คำนวณตามชนิดของท่อ ดังนี้
-ท่อเหล้กกล้าอาบสังกะสี(GSP) ท่อเหล็กดำ(BSP) ท่อเหล็กไร้สนิม(SSP) ท่อทองแดง(CU)
ค่าวัสดุ30%ของราคาท่อ ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
-ท่อพีวีซี(PVC) ท่อพีบี(PB) ท่อพีพี(PP) ท่อเอชดีพีอี(HDPE)
ค่าวัสดุ40%ของราคาท่อ ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
-ท่อเหล็กหล่อเคลือบยางมะตอย(CI)
ค่าวัสดุ50%ของราคาท่อ ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
-ปลอกรัดแสตนเลส
ค่าวัสดุ50%ของราคาท่อ ค่าแรงงาน5%ของราคาวัสดุ
-ท่อทนสารเคมีห้องทดลอง ท่อแก้ว ท่อชนิดอื่นๆ และงานที่มีแบบขยายแสดงการเดินท่อ อาจต้องสำรวจปริมาณและคำนวณราคาข้อต่อ ข้องอต่างๆ ตามที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
4.3)ค่าอุปกรณ์ยึดแบะรองรับท่อ
-ค่าวัสดุ 10%ของราคาท่อ ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
4.4)ค่าทดสอบ ทำความสะอาด ทาสี ทำสัญลักษณ์ท่อ
-ค่าวัสดุ 5%ของราคาท่อ ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
4.5)อุปกรณ์ระบบระบายน้ำ FCO, SCO, CO, FD, SD, RD, RFD, PD, AVC
-คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการ และรายการประกอบแบบ
4.6)อุปกรณ์ระบบประปา มาตรวัดน้ำ ประตูน้ำชนิดต่างๆ
-คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
4.7)อุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
-คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
-หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ(Automatic Sprinklers) ให้เผื่อ3%จากที่กำหนดตามแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
4.8)อุปกรณ์ระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบระบายน้ำ
-ถังเก็บน้ำสำเร็จรูป ให้คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
-ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ถอดปริมาณจากแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ และคำนวณราคาต่อวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
-โรงสูบและถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ถอดปริมาณจากแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ โดยคำนวณราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
-บ่อบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป บ่อดักไขมันสำเร็จรูป บ่อพักสำเร็จรูป คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
-อาคารปรับปรุงคุณภาพน้ำ บ่อบำบัดน้ำเสียคอนกรีตเสริมเหล็ก ถอดปริมาณจากแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ และคำนวณราคาต่อวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
-รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ท่อรวบรวมน้ำเสีย คำนวณราคาเป็นบ่อ โดยคำนวณราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
5)หลักเกณฑ์การเผื่อความยาวท่อแนวดิ่ง (พิจารณาตามความสูงของอาคาร)
5.1)ท่อระบายน้ำโสโครก เดินท่อรับโถส้วม เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
เดินท่อรับโถปัสสาวะ เผื่อไว้ 0.70-1.00 เมตร
เดินท่อรับ FCO เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
5.2)ท่อระบายน้ำทิ่ง เดินท่อรับอ่างล้างหน้า เผื่อไว้ 0.70-1.00 เมตร
เดินท่อรับ FD เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
เดินท่อรับ FCO เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
5.3)ท่อประปา เดินท่อเข้าโถส้วมชักโครก เผื่อไว้ 1.00 เมตร
(ท่อใต้พื้นเข้าสุขภัณฑ์) เดินท่อเข้าโถปัสสาวะ เผื่อไว้ 1.00 เมตร
เดินท่อเข้าอ่างล้างหน้า เผื่อไว้ 1.00 เมตร
เดินท่อก๊อกน้ำ เผื่อไว้ 1.00 เมตร
เดินท่อวาล์วฝักบัว เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
5.4)ท่อประปา เดินท่อเข้าโถส้วมชักโครก เผื่อไว้ 2.50-3.00 เมตร
(ท่อบนพื้นเข้าสุขภัณฑ์) เดินท่อเข้าโถปัสสาวะ เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
- เดินท่อเข้าอ่าลล้างหน้า เผื่อไว้ 2.00-2.50เมตร
เดินท่อก๊อกน้ำ เผื่อไว้ 2.00-2.50 เมตร
เดินท่อวาล์วฝักบัว เผื่อไว้ 3.00-4.00 เมตร
5.5)ท่อระบายอากาศ เดินท่อเข้าโถส้วมชักโครก เผื่อไว้ 3.00-4.00 เมตร
เดินท่อเข้าโถปัสสาวะ เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
เดินท่อเข้าอ่างล้างหน้า เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
5.6)ท่อดับเพลิง เดินท่อรับหัว SPRINKLER เผื่อไว้ 0.20-0.50 เมตร
5.7)ท่อระบายน้ำฝน เดินท่อรับหัวRFD และ RD เผื่อไว้ 0.20-0.50 เมตร
ที่มา : หน้า 101 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น