วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

73 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร :งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร(1/x)

     ในการถอดแบบและคำนวณปริมาณงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร รวมทั้งระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดซึ่งจำเป็นต้องศึกษา ทำตวามเข้าใจทั้งในส่วนของรูปแบบรายการ รายการประกอบแบบ และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้การถอดแบบคำนวณปริมาณงานและราคา สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
     ในการถอดแบบคำนวณปริมาณงานในส่วนของงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารรวมทั้งระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังต่อไปนี้
     1)การตรวจสอบรูปแบบรายการ (แบบ) และรายการประกอบแบบ
หลังจากผู้มีหน้าที่ถอดแบบคำนวณราคากลางได้รับแบบและรายการประกอบแบบ เพื่อใช้คำนวณราคาแล้ว ต้องพิจารณาตรวจสอบแบบและรายการประกอบแบบ ต่างๆดังนี้
     1.1)ความครบถ้วนของแบบและรายการประกอบแบบ
     1.1.1)ตรวจสอบจำนวนแผ่นของแบบที่ได้รับว่ามีจำนวนครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในสารบัญแบบหรือจำนวนแผ่นรวมที่ระบุหรือไม่
     1.1.2)ตรวจสอบรายละเอียดจำนวนหมวดงาน จำนวนหน้าแต่ละหมวดงานในรายการประกอบแบบที่  ได้รับว่า มีจำนวนหมวดงานและจำนวนหน้าครบถ้วนสอดคล้องกับหมวดงานในแบบหรือไม่
     1.2)ความสมบูรณ์ของแบบและรายการประกอบแบบ
     1.2.1)พิจารณาตรวจสอบแบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีรายละเอียดข้อมูล และขอบเขตงานเพียงพอสำหรับใช้คำนวณราคาหรือไม่
     1.2.2)พิจารณาตรวจสอบรายการประกอบแบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีรายละเอียดข้อมูล และขอบเขตงานเพียงพอสำหรับใช้คำนวณราคาหรือไม่
     1.3)มาตราส่วน
     1.3.1)พิจารณาตรวจสอบวัดระยะตามมาตราส่วนที่ระบุในแบบว่ามีความถูกต้องตรงตามตัวเลขที่ระบุไว้หรือไม่
     1.3.2)สามารถใช้ถอดแบบคำนวณราคาได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
     1.4)การรับรองแบบและรายการประกอบแบบ
     1.4.1)แบบต้องมีแหล่งที่มาและมีการลงนามรับรองในแบบถูกต้อง
     1.4.2)รายการประกอบแบบต้องมีแหล่งที่มา และมีการลงนามรับรองถูกต้อง
     1.5)ข้อสังเกต ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข
     1.5.1)ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือแบบไม่ครบ แบบไม่สมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดระบุชนิด ขนาด และข้อกำหนดของอุปกรณ์ กรณีนี้แก้ไขปัญหาได้ โดยแจ้งขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
     1.5.2)แบบและรายการประกอบแบบ ไม่มีแหล่งที่มา ไม่มีการลงนามรับรอง แก้ไขปัญหาได้โดยแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
     1.5.3)รายละเอียดแบบฟอร์มปริมาณงานและราคาหรือแบบฟอร์มเปล่า(Blank Form) กรณีที่มีแนบมาพร้อมกับแบบและรายการประกอบแบบ ไม่สัมพันธ์สอดคล้องกัน ผู้มีหน้าที่ถอดแบบคำนวณราคาต้องแก้ไขจัดทำให้สอดคล้องกัน
     2)การศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบรายละเอียด
ในแบบก่อสร้างอาคารนั้น แบบก่อสร้างหรือแบบรูปรายการ(Drawing)  และรายละเอียดประกอบแบบ(Specification) เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารความต้องการระหว่างผู้ออกแบบกับผู้รับจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆทุกฝ่าย รวมถึงผู้คำนวณราคากลาง เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ทั้งในส่วนของงานด้านสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมโครงสร้าง และงานระบบประกอบอาคาร ซึ่งได้แก่ งานระบบไฟฟ้า งานระบบเครื่องกล งานระบบสุขาภิบาล และงานระบบอื่นๆ ดังนั้นผู้มีหน้าที่คำนวณราคา ต้องศึกษาทำความเข้าใจดังนี้
     2.1)ศึกษารายละเอียดลักษณะและประเภทของอาคารตามลักษณะการใช้งาน เช่น อาคารสำนักงาน อาคารชุด อาคารหอประชุม อาคารเรียน อาคารโรงพยาบาล เป็นต้น  และประเภทของอาคารตามกฏหมายควบคุมอาคาร เช่น อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง อาคารชุด เป็นต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาสิ่งที่จำเป็นต้องมีในแต่ละประเภทอาคาร รวมถึงการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล การวิเคราะห์ราคาค่างาน การศึกษาวิเคาะห์รูปแบบ และการตรวจสอบซ้ำ เป็นต้น
     2.2)ศึกษารายละเอียดขอบเขตของงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารตามแบบและรายการประกอบแบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนถอดแบบ การสืบค้นราคา การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทำรายการและปริมาณงาน เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดและขอบเขตงานที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าว ประกอบด้วย
     2.2.1)ระบบไฟฟ้า ได้แก่ ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟฟ้าบริเวณ
     2.2.2)ระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     2.2.3)ระบบโทรศัพท์
     2.2.4)ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     2.2.5)ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
     2.2.6)ระบบเสียงประกาศ
     2.2.7)ระบบสัญญาณทีวีรวม
     2.2.8)ระบบทีวีวงจรปิด
     2.2.9)ระบบโสตทัศนูปกรณ์(ครุภัณฑ์จัดซื้อ)
     2.2.10)อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
     2.3)ศึกษารายละเอียดแบบแปลนงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ที่แสดงรายละเอียดในแบบและรายการประกอบแบบ ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อเนื่องกับส่วนต่างๆของแบบแปลน รวมถึงความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบรายละเอียดที่ใช้สำหรับคำนวณราคา โดยทั่วไปแบบงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารจะประกอบด้วย
     2.3.1)สารบัญแบบ
     2.3.2)สัญลักษณ์ รายละเอียดงาน และรายละเอียดประกอบแบบ
     2.3.3)แบบไดอะแกรมเส้นเดียว(Single Line Diagram) รายละเอียด (Detail) แผงสวิตซ์บอร์ดต่างๆ
     2.3.4)แบบไดอะแกรมแนวตั้ง(Riser Diagram) ของงานทุกระบบ
     2.3.5)ตารางโหลด(Load Schedule) ระบบไฟฟ้า
     2.3.6)รูปลักษณ์ของวัสดุอุปกรณ์หรือแบบแสดงรายละเอียด(Detail)ต่างๆ
     2.3.7)ผังแสดงระบบการจ่ายไฟฟ้ากำลัง ผังแนวท่อสายเมนระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ที่แสดงในผังบริเวณของโครงการ/งานก่อสร้าง
     2.3.8)ผังไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าแสงสว่างและเต้ารับ ที่แสดงในแบบแปลน ซ฿่งมีรายละเอียดแสดงตำแหน่งติดตั้งและสามารถถอดแบบนับจำนวนและวัดปริมาณได้ ในมาตราส่วนที่เหมาะสม
     2.3.9)แบบแปลนระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     2.3.10)แบบระบบโทรศัพท์ ระบบเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบสัญญาณทีวีรวม ระบบเสียงประกาศ ระบบทีวีวงจรปิด ระบบโสตทัศนูปกรณ์(ครุภัณฑ์จัดซื้อ) และอื่นๆที่แสดงในแบบแปลน ซึ่งมีรายละเอียดแสดงตำแหน่งติดตั้งและสามารถถอดแบบนับจำนวนและวัดปริมาณได้ในมาตราส่วนที่เหมาะสม
     2.3.11)แบบรายละเอียดอื่นๆ
     3)หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์
     หมายถึงการหาจำนวนหรือปริมาณของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ/'านก่อสร้างที่ระบุในแบบและรายการประกอบแบบ
     หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์ สามารถแบ่งตามลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
     3.1)วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนับจำนวน
     หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฏในแบบหรือรายการประกอบแบบ ที่ใช้วิธีการถอดแบบด้วยวิธีนับจำนวน ได้แก่หม้อแปลง แผงสวิทซ์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ดวงโคม สวิตซ์ เต้ารับ อุปกรณ์ระบบโทรศัพท์ ระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบเสียงประกาศ ระบบทีวีรวม ระบบทีวีวงจรปิด และอื่นๆ ที่มีอยู่ในแบบและรายการประกอบแบบ
     3.2)วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องวัดปริมาณ
     หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฏในแบบ  ซึ่งต้องใช้วิธีการถอดแบบด้วยวิธ๊วัดความยาว ได้แก่ ท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล Busways สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สายสัญญาณต่างๆ มีหน่วยความยาวเป็นเมตร และใช้วิธีการถอดแบบด้วยวิธีวัดพื้นที่ ได้แก่ ระบบป้องกันไฟลาม มีหน่วยเป็นตารางเมตร เป็นต้น

ที่มา : หน้า 106 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น