ในการคำนวณราคากลางตามหลักเกณพ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคารนั้น ได้กำหนดแบบฟอร์มเพื่อผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางได้นำไปใช้ในการถอดแบบก่อสร้าง คำนวณ และจัดทำรายงานการคำนวณราคากลาง รวม 9 แบบฟอร์ม ดังนี้
1)แบบฟอร์มประกอบการถอดแบบก่อสร้าง
เป็นแบบฟอร์มที่กำหนดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางได้ใช้ประกอบการถอดแบบก่อสร้างในงานก่อสร้างอาคาร ซึ่งผู้มีหน้าที่คำนวรราคากลางอาจใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลาง แต่หากได้มีการจัดทำก็ให้แนบไว้เป็นรายละเอียดประกอบในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคารนั้น ประกอบด้วยแบบฟอร์ม ดังนี้
1.1)แบบ ปร.1 : แบบฟอร์มการถอดแบบสำรวจรายการ ปริมาณงาน และวัสดุก่อสร้างทั่วไป
เป็นแบบฟอร์มสำหรับใช้ประกอบการถอดแบบก่อสร้าง เพื่อสำรวจและกำหนดรายการ ปริมาณงาน และวัสดุก่อสร้างทั่วไป ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานคอนกรีต งานไม้แบบ งานไม้ค้ำยัน งานเหล็กเสริมคอนกรีต และงานไม้ หรืออาจใช้เป็นแบบฟอร์มสำหรับประมาณการราคาค่าก่อสร้างของงานต่างๆ เพื่อหาราคาต่อหน่วย เช่น งานทำประตูหน้าต่าง งานเดินท่อระบบ เป็นต้น
1.2)แบบ ปร.2 : แบบฟอร์มการถอดแบบสำรวจรายการและปริมาณงานคอนกรีต ไม้แบบ ไใ้ค้ำยัน และเหล็กเสริมคอนกรีต
เป็นแบบฟอร์มสำหรับใช้ประกอบการถอดแบบก่อสร้าง เพื่อสำรวจและกำหนดรายการและปริมาณงาน เฉพาะในส่วนของงานคอนกรีต งานไม้แบบ งานไม้ค้ำยัน และงานเหล็กเสริมคอนกรีต
1.3)แบบ ปร.3 : แบบฟอร์มการถอดแบบสำรวจรายการและปริมาณงานไม้
เป้นแบบฟอร์มสำหรับใช้ประกอบการถอดแบบก่อสร้าง เพื่อสำรวจและกำหนดรายการและปริมาณงาน เฉพาะในส่วนของงานไม้
2)แบบฟอร์มรายงานการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร
เป็นแบบฟอร์มรายงานการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร ซึ่งผู้มีหน้าที่คำนณราคากลางต้องใช้ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร ส่วนจะใช้แบบฟอร์มใด จำนวนกี่แบบฟอร์มก้ให้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงสำหรับแต่ละโครงการ/งานก่อสร้าง รวมทั้งแนวทางและวิธีการในการออกแบบและจัดทำรายงานการคำนวณราคากลางของผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลาง ประกอบด้วยแบบฟอร์ม ดังนี้
2.1)แบบ ปร.4 : แบบแสดงรายการ ปริมาณงาน และราคา (BOQ.)
เป็นแบบฟอร์มสำหรับรวบรวมรายการงานก่อสร้าง รวมทั้งปริมาณงานและค่าวัสดุครุภัณฑ์และหรือค่าแรงงานสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง ที่ไม่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องมี โดยผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางอาจแยกรายการงานก่อสร้าง รวมทั้งปริมาณงาน และค่าวัสดุครุภัณฑ์และหรือค่าแรงงานสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง รวมรวมไว้ในแบบปร.4ได้มากกว่า 1 ชุด ตามการตัดแบ่งกลุ่มงานที่ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางกำหนด โดยในปร.4 แต่ละชุด(แต่ละกลุ่มงาน)จะประกอบด้วยรายการงานก่อสร้าง รวมทั้งปริมาณงาน และค่าวัสดุครุภัณฑ์และหรือค่าแรงงานสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง สำหรับกลุ่มงานั้นๆ เช่น ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางอาจแยกรายการงานก่อสร้าง รวมทั้งปริมาณงาน และค่าวัสดุครุภัณฑืและหรือค่าแรงงานสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง เป็นชุด ปร.4 ของตัวอาคารสำนักงาน ชุดปร.4 ของงานผังบริเวณ และชุดปร.4 ของครุภัณฑ์จัดซื้อ เป็นต้น
ในการจำแนกหรือแยกรายการงานก่อสร้าง รวมทั้งปริมาณงาน ค่าวัสดุ ครุภัณฑ์และหรือค่าแรงงานสำหรับแต่ละรายการงานก่อสร้าง มารวมเป็นกลุ่มงานต่างๆที่กลุ่มนั้น ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางควรพิจารณาตามรายละเอียด โครงสร้าง และข้อเท็จจริงของโครงการ/งานก่อสร้างที่คำนวณราคากลางนั้น รวมทั้งวิธีการและแนวทางในการนำรายละเอียดของการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆต่อไปด้วย โดยให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและการพิจารณาของผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคารนั้นเป้นสำคัญ
2.2)แบบ ปร.4(พ) : แบบแสดงรายการ ปริมาณงาน และราคา สำหรับค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนด (BOQ.)
เป็นแบบฟอร์มสำหรับรวบรวมรายการงานก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องมีทุกรายการ รวมทั้งผลรวมของค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องมีแต่ละรายการ และทุกรายการ
2.3)แบบแสดงการคำนวณและเหตุผลความจำเป็นสำหรับค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนด
เป็นแบบฟอร์มสำหรับแสดงรายละเอียดการคำนวณและคำชี้แจงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องมีค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนดและค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องมี สำหรับแต่ละรายการ
2.4)แบบ ปร.5(ก) : แบบสรุปค่าก่อสร้าง (ค่างานต้นทุน)
เป็นแบบฟอร์มสำหรับสรุปค่าก่อสร้างเฉพาะงาน/กลุ่มงานที่ถอดแบบคำนวณในราคาต้นทุนหรือในราคาทุน โดยใช้เป็นใบปะหน้า แบบปร.4 ที่คำนวณในราคาต้นทุนหรือในราคาทุน แต่ละชุด
ในการสรุปขนาดหรือเนื้อที่อาคาร และค่าเฉลี่ยต่อตารางเมตร เพื่อระบุไว้ในแบบ ปร.5(ก)นั้น ให้สรุปหรือคำนวณตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
ขนาดพื้นที่หรือเนื้อที่อาคาร (พื้นที่ใช้สอย) = พื้นที่ที่อยู่ภายในส่วนของแนวผนังหรือผนังก่อโดยรอบ + 1/2 ของพื้นที่ที่มีหลังคาคลุมแต่ไม่มีแนวผนังหรือผนังก่อโดยรอบ
ค่าเฉลี่ยต่อตารางเมตร = มูลค่างานหรือค่าก่อสร้างรวมตามสรุปท้าย แบบ ปร.5(ก) หารด้วยขนาดพื้นที่หรือเนื้อที่อาคาร(พื้นที่ใช้สอย)
ทั้งนี้ การคำนวณพื้นที่ใช้สอยหรือขนาดหรือเนื้อที่อาคารสำหรับงานอาคารดังกล่าว อาจแตกต่างกับการคำนวณพื้นที่ใช้สอบเพื่อการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อการออกแบบในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ออกแบบทางด้านวิชาชีพ และอาจมรความแตกต่างกับการคำนวณพื้นที่ใช้สอยหรือพื้นที่อาคารในส่วนของภาคเอกชนหรือผู้เสนอราคา
2.5 แบบ ปร.5(ข) : แบบสรุปค่าครุภัณฑ์จัดซื้อ
เป็นแบบฟอร์มสำหรับสรุปค่าก่อสร้างเฉพาะงาน/กลุ่มงาน ที่เกี่ยวข้องกับครุภัณฑ์จัดซื้อและครุภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องคำนวณในราคาผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย โดยใช้เป็นใบปะหน้า แบบ ปร.4 ของครุภัณฑ์จัดซื้อและครุภัณฑ์อื่นๆที่คำนวณในราคาผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย แต่ละชุด
2.6 แบบ ปร.6 : แบบสรุปราคากลางงานก่อสร้าง
เป็นแบบฟอร์มสำหรับรวบรวมค่าก่อสร้างของทุกส่วน(งาน/กลุ่มงาน) ทั้งในส่วนของค่างานต้นทุน ครุภัณพ์จัดซื้อ และค่าใช้จ่ายพิเศษตามข้อกำหนด มาสรุปไว้ในแบบ ปร.6 นี้ และเมื่อรวมยอดค่าก่อสร้างของทุกส่วน(งาน/กลุ่มงาน) ก็จะได้ค่าก่อสร้างหรือราคากลางงานก่อสร้างอาคารทั้งโครงการ/งานก่อสร้าง
นอกจากแบบฟอร์ม 6 แบบฟอร์ม ดังกล่าวแล้ว ในรายการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางจะต้องแนบแบบฟอร์ม ข้อมูล และรายละเอียดอื่นๆ ที่ผู้มีหน้าที่คำนวณรคากลางได้กำหนดและจัดทำขึ้นเองตามข้อกำหนดตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างประกอบไว้กับรายงานการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างด้วย เช่น แบบฟอร์มและหรือรายละเอียดและคำชี้แจงเกี่ยวกับการสืบราคาวัสดุครุภัณฑ์ รายละเอียดการคำนวณการหาค่า Factor F และแบบ ปร.1 ปร.2 และ ปร.3 (ในกรณีที่ได้มีการจัดทำแบบ ปร.1 ปร.2 และ ปร.3 ไว้ด้วย) เป็นต้น
แบบฟอร์มที่ใช้ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร ทั้ง 9 แบบ ดังกล่าว ปรากฏตามแบบฟอร์มดังนี้..........
ที่มา : หน้า 20 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น