วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

95

94

93

92

91

90

88

87

86

85

84

83

82 : หลักเกณฑ์การคำนวรและเกณฑ์การเผื่อในปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วย

     1)ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานคอนกรีตส่วนผสม
     1.1)คอนกรีตส่วนผสท 1:3:5 (คอนกรีตหยาบ)
ปูนซีเมนต์   243 กก.  เผื่อ  7%  รวมเป็น  260  กก.
ทรายหยาบ  0.55 ลบ.ม.  เผื่อ  13% รวมเป็น  0.62  ลบ.ม.
หินเบอร์ 1-2   0.92 ลบ.ม.  เผื่อ  12%  รวมเป็น  1.03  ลบ.ม.
น้ำผสมคอนกรีต  180 ลิตร  เผื่อ  -% รวมเป็น  180  ลิตร
     1.2)คอนกรีตส่วนผสม 1:2:4
ปูนซีเมนต์   320 กก.  เผื่อ  7%  รวมเป็น  342  กก.
ทรายหยาบ  0.55 ลบ.ม.  เผื่อ  13% รวมเป็น  0.57  ลบ.ม.
หินเบอร์ 1-2   0.97 ลบ.ม.  เผื่อ  12%  รวมเป็น  1.09  ลบ.ม.
น้ำผสมคอนกรีต  180 ลิตร  เผื่อ  -% รวมเป็น  180  ลิตร
     1.3)คอนกรีตมาตรฐานกรมโยธาธิการ
     1.3.1)คอนกรีต ค.1 (Strength 180 กก./ตร.ซม.)
ปูนซีเมนต์   284 กก.  เผื่อ  7%  รวมเป็น  304  กก.
ทรายหยาบ  0.38 ลบ.ม.  เผื่อ  13% รวมเป็น  0.43  ลบ.ม.
หินเบอร์ 1-2   0.88 ลบ.ม.  เผื่อ  12%  รวมเป็น  0.99  ลบ.ม.
น้ำผสมคอนกรีต  180 ลิตร  เผื่อ  -% รวมเป็น  180  ลิตร
     1.3.2)คอนกรีต ค.2 (Strength 240 กก./ตร.ซม.)
ปูนซีเมนต์   314 กก.  เผื่อ  7%  รวมเป็น  336  กก.
ทรายหยาบ  0.53 ลบ.ม.  เผื่อ  13% รวมเป็น  0.60  ลบ.ม.
หินเบอร์ 1-2   0.97 ลบ.ม.  เผื่อ  12%  รวมเป็น  1.09  ลบ.ม.
น้ำผสมคอนกรีต  180 ลิตร  เผื่อ  -% รวมเป็น  180  ลิตร
     1.3.3)คอนกรีต ค.3 (Strength 300 กก./ตร.ซม.)
ปูนซีเมนต์   343 กก.  เผื่อ  7%  รวมเป็น  367  กก.
ทรายหยาบ  0.58 ลบ.ม.  เผื่อ  13% รวมเป็น  0.66  ลบ.ม.
หินเบอร์ 1-2   0.82 ลบ.ม.  เผื่อ  12%  รวมเป็น  0.92  ลบ.ม.
น้ำผสมคอนกรีต  180 ลิตร  เผื่อ  -% รวมเป็น  180  ลิตร
     1.3.4)คอนกรีต ค.4 (Strength 350 กก./ตร.ซม.)
ปูนซีเมนต์   392 กก.  เผื่อ  7%  รวมเป็น  419  กก.
ทรายหยาบ  0.44 ลบ.ม.  เผื่อ  13% รวมเป็น  0.50  ลบ.ม.
หินเบอร์ 1-2   0.87 ลบ.ม.  เผื่อ  12%  รวมเป็น  0.97  ลบ.ม.
น้ำผสมคอนกรีต  180 ลิตร  เผื่อ  -% รวมเป็น  180  ลิตร
     หมายเหตุ หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วยทั้ง 4 รายการนี้ ใช้น้ำผสมคอนกรีต ประมาณ 180 ลิตร และได้เผื่อการเสียหายแล้ว
     2)ปริมาณวัสดุมวลรวมของงานก่อผนังด้วยวัสดุชนิดต่างๆ (แนวปูนก่อหนาประมาณ 1-2ซม.)
     2.1)ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น(คำนวณที่ 1 ตารางเมตร)
อิฐสามัญ(อิฐมอญ)   115  ก้อน  เผื่อ  20%  รวมเป็น  138  ก้อน
ปูนซีเมนต์   13.45  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  16.01  กก.
ปูนขาว   8.65  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  10.29  กก.
ทรายหยาบ   0.046  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  0.05  ลบ.ม.
น้ำ    10  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  10  ลิตร
     2.2)ผนังก่ออิฐมอญเต็มแผ่น(คำนวณที่ 1 ตารางเมตร)
อิฐสามัญ(อิฐมอญ)   230  ก้อน  เผื่อ  20%  รวมเป็น  276  ก้อน
ปูนซีเมนต์   28.57  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  34  กก.
ปูนขาว   17.30  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  20.59  กก.
ทรายหยาบ   0.11  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  0.12  ลบ.ม.
น้ำ    20  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  20  ลิตร
     2.3)ผนังก่อซีเมนต์บล็อก ขนาด 0.07x0.19x0.39 ม. (คำนวณที่ 1 ตารางเมตร)
ซีเมนต์บล็อค   12.50  ก้อน  เผื่อ  4%  รวมเป็น  13  ก้อน
ปูนซีเมนต์   5.67  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  6.75  กก.
ปูนขาว   3.25  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  3.87  กก.
ทรายหยาบ   0.028  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  0.03  ลบ.ม.
น้ำ    5  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  5  ลิตร
     2.4)ผนังก่อซีเมนต์บล็อก ขนาด 0.09x0.19x0.39 ม. (คำนวณที่ 1 ตารางเมตร)
ซีเมนต์บล็อค   12.50  ก้อน  เผื่อ  4%  รวมเป็น  13  ก้อน
ปูนซีเมนต์   7.96  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  9.47  กก.
ปูนขาว   4.56  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  5.43  กก.
ทรายหยาบ   0.037  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  0.04  ลบ.ม.
น้ำ    5  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  5  ลิตร
     2.5)ผนังก่อซีเมนต์บล็อกชนิดระบายอากาศ ขนาด 0.09x0.19x0.39 ม. (คำนวณที่ 1 ตารางเมตร)
ซีเมนต์บล็อค   12.50  ก้อน  เผื่อ  4%  รวมเป็น  13  ก้อน
ปูนซีเมนต์   7.96  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  9.47  กก.
ปูนขาว   4.56  กก.  เผื่อ  19%  รวมเป็น  5.43  กก.
ทรายหยาบ   0.037  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  0.04  ลบ.ม.
น้ำ    5  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  5  ลิตร
     3)ปูนทรายส่วนผสม (ระหว่างซีเมนต์และทราย ในอัตราส่วน 1:3)
     3.1)ปูนทรายรองพื้นสำหรับพื้นปูวัสดุแผ่นสำเร็จรูป / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 3 ซม.)
ปูนซีเมนต์   18.20  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  20.02  กก.
ทรายหยาบ   0.090  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.11  ลบ.ม.
น้ำ    6  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  6  ลิตร
     3.2)ปูนทรายรองพื้นสำหรับผิวทรายล้างหรือหินล้าง หินขัด / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 3 ซม.)
ปูนซีเมนต์   18.20  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  20.02  กก.
ทรายหยาบ   0.090  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.11  ลบ.ม.
น้ำ    6  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  6  ลิตร
     3.3)ปูนทรายรองพื้นสำหรับผนังบุด้วยวัสดุแผ่นสำเร็จรูป / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 1.5 ซม.)
ปูนซีเมนต์   10.95  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  12.05  กก.
ทรายหยาบ   0.034  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.04  ลบ.ม.
น้ำ    3  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  3  ลิตร
     3.4)ปูนทรายรองพื้นสำหรับผนังผิวทรายล้างหรือหินล้าง / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 1.5 ซม.)
ปูนซีเมนต์   10.95  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  12.05  กก.
ทรายหยาบ   0.034  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.04  ลบ.ม.
น้ำ    3  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  3  ลิตร
      4)งานตกแต่งผิวผนัง พื้น และงานช่างปูน
     4.1)งานปูนฉาบ / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 1.5 ซม.)
ปูนซีเมนต์   10.95  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  7.70  กก.
ปูนขาว   7.00  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  5.43  ลบ.ม.
ทรายละเอียด   0.034  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.04  ลบ.ม.
น้ำ    3  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  3  ลิตร
     4.2)ปูนฉาบผิวซีเมนต์ขัดมันเรียบ / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 1.5 ซม.)
ปูนซีเมนต์   16.30  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  17.93  กก.
ปูนขาว   7.00  ลบ.ม.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  7.70  ลบ.ม.
ทรายละเอียด   0.034  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.04  ลบ.ม.
น้ำ    3  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  3  ลิตร
     4.3)ปูนทรายพื้นผิวซีเมนต์ขัดมันเรียบ / 1 ตารางเมตร (หนาประมาณ 3 ซม.)
ปูนซีเมนต์   19.56  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  21.52  กก.
ทรายหยาบ   0.096  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.11  ลบ.ม.
น้ำ    6  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  6  ลิตร
     4.4)งานทำผิวหินล้าง / 1 ตารางเมตร (ไม่รวมปูนทรายรองพื้น)
ปูนซีเมนต์ขาว   7.66  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  8.43  กก.
ทรายหยาบ   0.050  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.06  ลบ.ม.
หินเกล็ด   18.65  กก.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  22.01  กก.
สีฝุ่น   0.50  กก.  เผื่อ  -%  รวมเป็น  0.50  กก.
น้ำ    5  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  5  ลิตร
     4.5)งานทำผิวหินขัด / 1 ตารางเมตร (ไม่รวมปูนทรายรองพื้น)
ปูนซีเมนต์ขาว   6.30  กก.  เผื่อ  10%  รวมเป็น  6.93  กก.
ทรายหยาบ   0.050  ลบ.ม.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  0.06  ลบ.ม.
หินเกล็ดเบอร์..   22.00  กก.  เผื่อ  18%  รวมเป็น  25.96  กก.
สีฝุ่น   0.50  กก.  เผื่อ  -%  รวมเป็น  0.50  กก.
น้ำ    6  ลิตร  เผื่อ  -%  รวมเป็น  6  ลิตร
ขี้ผึ้งลงพื้น    0.03  กก.  เผื่อ  -%  รวมเป็น  0.03  กก.
     5)ปริมาณวัสดุของงานฝาผนังและฝ้าเพดานและพื้นไม้ / 1 ตารางเมตร (คำนวณเผื่อเสียหายแล้ว)
     5.1)ฝาไม้ 1/2" x 6 " ตีทับเกล็ด เคร่าไม้ 1-1/2" x 3" @0.50ม. c/c
ไม้ฝา  0.725  ลบ.ฟ.
ไม้เคร่า  0.25 ลบ.ฟ.
ตะปู  0.15  กก.
     5.2)ฝาวัสดุแผ่นสำเร็จรูป 2 ด้าน เคร่าไม้ 1-1/2" x 3" @0.40 x 0.60 ม. c/c
วัสดุแผ่นสำเร็จรูป  2  ตร.ม.
ไม้เคร่า  0.48 ลบ.ฟ.
ตะปู  0.20  กก.
     5.3)ฝ้าเพดานไม้ 1/2" ตีชนเซาะร่องตัววี เคร่าไม้ 1-1/2" x 3" @0.40 ม. c/c
ไม้ฝ้าเพดาน  0.55  ลบ.ฟ.
ไม้เคร่า  0.25 ลบ.ฟ.
ตะปู  0.15  กก.
     5.4)พื้นไม้หนา 1" เข้าลิ้น / 1 ตารางเมตร
ใช้ไม้พื้น  1.15 ลบ.ฟ.

ที่มา : หน้า 139 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555

81 : เกณฑ์การเผื่อและการคำนวณปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วย

     ในหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร นอกจากต้องคำนวณหาปริมาณงานและหรือวัสดุของแต่ละรายการงานก่อสร้างตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในส่วนของมาตรฐานวัดและคำนวณปริมาณงาน และในส่วนของหลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคารแล้ว ในบางรายการงานก่อสร้างจำเป็นต้องคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการก่อสร้างที่เป็นจริง นอกจากนี้ในการคำนวณปริมาณงาน และหรือคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุของบางรายการงานก่สร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงานโครงสร้างวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ก็ยังมีความจำเป็นต้องคำนวณในลักษณะของปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วยด้วย
     ในการคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุในงานก่อสร้างอาคารนั้น บางรายการงานก่อสร้างได้กำหนดรายละเอียดไว้แล้วในส่วนของหลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานงานก่อสร้างอาคาร ส่วนรายการงานก่อสร้างอื่นที่จำเป็นต้องคิดคำนวณเผื่อปริมาณงานและหรือวัสดุ และหรือต้องคำนวณปริมาณงานในลักษณะของปริมาณวัสดุมวลรวมต่อหน่วย ซึ่งมิได้กำหนดไว้ในส่วนของหลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานงานก่อสร้างอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของงานโครงสร้างวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ก็ให้ใช้ตามรายการและหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังต่อไปนี้
    เกณฑ์การเผื่อ
     1)งานขุดดินฐานรากและถมคืน ให้คำนวณเผื่อกันดินพังและทำงานสะดวก 30%
     2)งานวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับและงานถมบริเวณ ให้คำนวณเปื่อปริมาณงาน ดังนี้
     2.1)งานวัสดุรองพื้นหรือปรับระดับ ให้คิดคำนวณเผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดด้วยแรงคน
     2.1.1)งานถมทรายรองพื้นหรือปรับระดับ  เผื่อ 25%
     2.1.2)งานดินรองพื้นหรือปรับระดับ  เผื่อ 30%
     2.1.3)งานดินลูกรังรองพื้นหรือปรับระดับ  เผื่อ 35%
     2.1.4) งานอิฐหักรองพื้นหรือปรับระดับ  เผื่อ 25%
     2.2)งานถมบริเวณ คิดคำนวณเผื่อการยุบตัวเนื่องจากการบดอัดด้วยเครื่องจักร
     2.2.1)งานถมทราย  เผื่อ 40%
     2.2.2)งานถมดิน  เผื่อ 60%
     2.2.3)งานถมดินลูกรัง  เผื่อ 60%
     2.2.4)งานถมอิฐหัก   เผื่อ 50%
     3)งานแบบหล่อคอนกรีต ให้คิดคำนวณเผื่อปริมาณงาน ดังนี้
     3.1)งานแบบหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
     3.1.1)งานแบบหล่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ให้คำนวณปริมาณเป็นจำนวนตารางเมตร โดยไม่ต้องคิดเผื่อปริมาณ
     3.2)งานไม้แบบหล่อคอนกรีต
     3.2.1)ไม้แบบหนา 1" เนื้อที่ 1 ตารางเมตร ใช้ไม้ปริมาตรประมาณ 1 ลบ.ฟ.
     3.2.2)ไม้เคร่ายึดไม้แบบ ให้คิดคำนวณ 30%ของปริมาณไม้แบบ
     3.2.3)ไม้ค้ำยันไม้แบบ
     3.2.3.1)ไม้ค้ำยันท้องคานและงานประเภทคาน ให้คิดคำนวณ 1 ต้น/ความยาว 1 เมตร
     3.2.3.2)ไม้ค้ำยันท้องพื้นและงานประเภทพื้น ให้คิดคำนวณ 1 ต้น/ตารางเมตร
     3.2.4)ตะปูยึดไม้แบบ ให้คิดคำนวณ 0.25 กิโลกรัม/ไม้แบบ 1 ตารางเมตร
     3.3)การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต เนื่องจากใช้งานหลายครั้ง
     3.3.1)อาคารชั้นเดียว ลด 20% ใช้  80%
     3.3.2)อาคาร 2 ชั้น ลด 30%  ใช้ 70%
     3.3.3)อาคาร 3 ชั้น ลด 40%  ใช้ 60%
     3.3.4)อาคาร 4 ชั้นขึ้นไป  ลด 50%  ใช้  50%
     การลดปริมาณไม้แบบหล่อคอนกรีต ให้ลดลงเฉพาะปริมาณวัสดุไม้แบบ ไม้เคร่ายึดไม้แบบ และไม้ค้ำยัน เท่านั้น ส่วนค่าแรงงานให้คิดคำนวณเต็มตามปริมาณพื้นที่ไม้แบบหล่อคอนกรีตทั้งหมด
     4)การเผื่อของเหล็กเสริม เนื่องจากการใช้เหล็กเสริมแต่ละขนาดทั้งเหล็กเส้นกลมผิวเรียบและเหล็กเส้นกลมผิวข้ออ้อย ต้องมีการทาบต่อ งอปลาย ดัดคอม้า และเสียเศษใช้งานไม่ได้ จึงกำหนดให้คิดคำนวณเผื่อปริมาณตามเกณฑ์ดังนี้
     -เหล็กเสริมเส้นกลมผิวเรียบ ขนาด
     Dia 6 มม.  เผื่อ  5%
     Dia 6 มม.  เผื่อ  5%
     -เหล็กเสริมเส้นกลมผิวเรียบ ขนาด
     Dia 12 มม.  เผื่อ  9%
     Dia 15 มม.  เผื่อ  11%
     Dia 19 มม.  เผื่อ  13%
     Dia 25 มม.  เผื่อ  15%
     Dia 28 มม.  เผื่อ  15%
     Dia 32 มม.  เผื่อ  15%
    -เหล็กเสริมเส้นกลมผิวข้ออ้อย ขนาด
    Dia 10 มม.  เผื่อ  7%
    Dia 12 มม.  เผื่อ  9%
    Dia 16 มม.  เผื่อ  11%
    Dia 20 มม.  เผื่อ  13%
    Dia 22 มม.  เผื่อ  15%
    Dia 25 มม.  เผื่อ  15%
    Dia 28 มม.  เผื่อ  15%
    Dia 32 มม.  เผื่อ  15%
    5)ลวดผูกเหล็กเสริม  ให้คิดคำนวณ 30 กก./น้ำหนักเหล็กเสริม 1 เมตริกตัน
    6)ปริมาณตะปูสำหรับงานประเภทต่างๆ
    6.1)งานวางคาน ตง และปูพื้นไม้  ใช้ 0.20 กก./ตร.ม.
    6.2)งานติดตั้งโครงหลังคาไม้
    6.2.1)ทรงเพิงแหงน  ใช้  0.20 กก./ตร.ม.
    6.2.2)ทรงจั่ว 0.20 กก./ตร.ม.
    6.2.3)ทรงปั้นหยา  0.25 กก./ตร.ม.
    6.2.4)ทรงไทย  0.30 กก./ตร.ม.

ที่มา : หน้า 137 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555

80 : งานระบบปรับอากาศและเครื่องกล (2/2)

     2.5)การแยกงานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพื่อคำนวณราคาของงานเครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆจะต้องเข้าใจในระบบนั้นๆ ว่าหมายถึงอะไร และทำงานอย่างไร ซึ่งโดยทั่วไปจะหมายถึงระบบต่างๆดังนี้
     2.5.1)ระบบเครนและรอกในการขนถ่ายวัสดุ(Crane and Hoist)
     2.5.2)ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน(Elevator and Escalator)
     2.5.3)ระบบลิฟต์เพื่อการก่อสร้าง(Construction Lift)
     2.5.4)ระบบสายพานลำเลียงวัสดุ(Conveyer)
     2.5.5)ระบบก๊าซเชื้อเพลิงLPG
     2.5.6)ระบบก๊าซทางการแพทย์
     2.5.7)ระบบก๊าซอัดแรงสูง
     2.5.8)ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม
     2.5.9)ระบบขนส่งโดยท่อลม
     2.5.10)ระบบไฮดรอลิค(Hydraulic System)
     2.5.11)เครื่องจักรกลหนัก
     2.5.12)สถานีสูบน้ำระบายน้ำ(Pumping Station)
     2.5.13)ระบบหม้อกำเนิดน้ำและหม้อน้ำร้อน
     2.5.14)อื่นๆ
     เครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆ ดังกล่าว ปกติจะเป็นระบบทางเครื่องกลที่ค่อนข้างจะพิเศษ จะพบในโครงการ/งานก่อสร้างอาคารโรงงาน โรงพยาบาล เป็นต้น และอาจมีระบบเดียวหรือหลายระบบ ขึ้นอยู่กับรูปรายการและวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ผู้ถอดแบบคำนวณราคาจึงต้องทำความเข้าใจในหลักการต่างๆของระบบจึงจะสามารถดำเนินการถอดแบบคำนวณราคาได้อย่างถูกต้อง  ในการสำราจและแยกรายการ/งานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในส่วนของเครื่องกลและระบบพิเศษอื่นๆ ดังกล่าว สามารถดำเนินการได้โดยแยกการพิจารณา ออกเป็น 2 ส่วน คือวัสดุอุปกรณ์ที่นับจำนวนได้และวัสดุอุปกรณ์ที่วัดเป็นปริมาณงาน โดยสามารถทำความเข้าใจได้จากตัวอย่างการสำรวจและแยกรายการ/'านและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ของงานระบบเครนและรอก ในการขนถ่ายวัสดุ ดังต่อไปนี้
     ส่วนที่ 1 อุปกรณ์ที่นับจำนวนได้ จะประกอบด้วย
     -ชุดเครนพร้อมมอเตอร์และชุดมอเตอร์ขับเคลื่อนครบชุด จำนวนกี่ชุด ขับเคลื่อนกี่ทิศทาง ยกสูงกี่เมตร ยกน้ำหนักได้เท่าใด การเคลื่อนไหวที่แนวดิ่งและแนวราบด้วยความเร็วเท่าใด ขนาดมอเตอร์กี่แรงม้า ระบบไฟฟ้าเป้นระบบอะไร จำนวนเท่าใด เป็นต้น
     ส่วนที่ 2 อุปกรณ์ที่วัดเป็นปริมาณ ประกอบด้วย
     -เหล็กโครงส้ราง I-Beam ขนาดเท่าไร ยาวกี่เมตร
     -เหล็กโครงสร้าง C-Chanel ขนาดเท่าไร ยาวกี่เมตร
     -อุปกรณ์ถ่ายน้ำหนัก
     -ระบบไฟฟ้า สายไฟฟ้าแบบไหน เคลื่อนที่ตามได้กี่เมตร
     ทั้งนี้ อุปกรณ์วัดเป็นปริมาณดังกล่าว ผู้ถอดแบบคำนวณราคาสามารถวัดปริมาณงานได้จากแบบรูปรายการ ซึ่งจะต้องพิจารณาเผื่อการสูญเสียจากการตัดต่อ การป้องกันสนิม การเก็บวัสดุ รวมทั้งการจัดซื้อเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
     3)วิธีการและแนวทางการคำนวณราคา
     3.1)ในการสำรวจเพื่อกำหนดปริมาณจะต้องแยกเนื้องานออกเป็นระบบๆที่เป็นอิสระจากกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรวบรวมราคา
     ในระบบเครื่องกลจะแยกออกเป็นระบบต่างๆ(ตามข้อ2.5) โดยวัสดุอุปกรณ์ในแต่ละระบบจะมีส่วนประกอบ 2 ส่วน ได้แก่
     -วัสดุอุปกรณ์ที่นับจำนวนได้ เช่น เครื่องปรับอากาศ พัดลมระบายอากาศ ปั๊มน้ำ วาล์ว ถังกรองเคมี หอผึ่งหรือคูลลิ่งทาวเวอร์ เป็นต้น
     -วัสดุที่นับจำนวนไม่ได้ต้องใช้วิธีการวัดปริมาณเนื้องาน เช่น งานเดินท่อน้ำยาระบบปรับอากาศ การเดินสายไฟกำลังในระบบปรับอากาศ การเดินท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน ท่อไอน้ำ การเดินท่อลม รางเลื่อนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะต้องใช้วิธีการวัดปริมาณและจะต้องมีการเผื่อปริมาณงานดังที่ได้กล่าวข้างต้นด้วย
     3.2)การจัดทำรายการปริมาณวัสดุิุปกรณ์เพื่อการประมาณหรือคำนวณราคา ควรจะมีตารางประกอบการดำเนินการ ซึ่งอาจจัดทำเป็นตารางแยกปริมาณวัสดุอุปกรณ์แบบนับจำนวนได้ และตารางแยกปริมาณวัสดุแบบวัดเป็นปริมาณงาน เพื่อประกอบการดำเนินการด้วย เมื่อได้ปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆแล้ว ก็นำไปคำนวณหาค่าวัสดุและค่าแรงต่อไป
     3.3)ในการถอดแบบควรมีการเก็บรวบรวมเป้นสถิติไว้ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบในการถอดแบบคำนวณราคาในครั้งต่อไป หรือเพื่อใช้ในการตรวจสอบ(Checked Figure) และชี้แจงข้อเท็จจริง เช่น การติดตั้งระบบอากาศแบบแยกส่วน จะมีค่าคงทีในการดำเนินการติดตั้งของระบบท่อเป็นอัตราประมาณ 2,000บาท/ตันความเย็นซึ่งเป็นตัวเลขที่เกิดจากการเดินท่อน้ำยาว 4 เมตร เป็นต้น
     3.4)การคำนวณราคาในงานระบบเครื่องกลพิเศษอื่นๆ จะต้องดำเนินการในลักษณะและวิธีการเช่นเดียวกันกับการถอดแบบคำนวณราคางานระบบปรับอากาศ รวมทั้งควรทำการตรวจสอบรายการที่คำนวณราคาซ้ำด้วย
     3.5)ค่าแรงงาน เป็นตัวเลขที่ยุ่งยากต่อการคำนวณราคา เพราะค่าแรงงานช่างจะขึ้นอยู่กับอายุงาน ฝีมือ และประสบการณ์ อีกทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน ช่างแต่ละคนทำงานชิ้นเดียวกันในเวลาไม่เท่ากัน ในการคำนวณค่าแรงงานไม่ควรจะคำนึงถึงเฉพาะเนื้องานที่ต้องทำเท่านั้น ควรคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆด้วย เช่น การประสานงาน การสั่งวัสดุ การส่งของ และค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการหยุดงานของคนงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่างๆขณะทำงาน เพราะฉะนั้นในการคำนวณราคาที่ดี จะต้องใช้เวลาที่เป็นเวลาเฉลี่ยในการทำงาน เพราะถ้าไม่ใช้ค่าเฉลี่ยแล้ว ตัวแปรค่าแรงงานจะควบคุมราคากลางไม่ได้ โดยทั่วไปเรามักจะนำค่าแรงงานจากตัวเลขอัตรา Man Hour, Man Day, Man Month และในบางส่วนก็จะใช้ตัวเลขจากค่าเฉลี่ยเป็น บาท.เมตร, บาท/ตารางเมตร หรือ บาท/ชุด และอาจทำเป็นลักษณะงานเหมาเลยคือ บาท/ชิ้นงาน ในปัจจุบันนิยมใช้ค่าแรงงานในลักษณะ บาท/ชิ้นงาน เพิ่มขึ้นมากเนื่องจากสามารถควบคุมราคางานได้ดีกว่า เพราะถ้าเป็นงานเหมา คนงานมักจะดำเนินการในส่วนของตนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อจะได้ทำชิ้นงานอื่นเพิ่มต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง กำหนดให้ใช้ค่าแรงงานตามบัญชีค่าแรงงาน/ค่าดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง
     4)การจัดทำรายการปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพื่อการคำนวณราคา
เมื่อได้รายละเอียดปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆแล้ว ในขั้นตอนต่อมาก็คือ การนำรายการรวมทั้งปริมาณวัสดุอุปกรณ์ มากำหนดไว้แบบหรือตารางการคำนวณราคา (แบบ ปร.4) เพื่อคำนวณราคาต่อไป
ในการคำนวณราคาสำหรับแต่ละรายการนั้น ในการคำนวณราคากลางงานก่อสร้างมรข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง คือ ค่าวัสดุ และหรือค่าแรงงาน โดยในส่วนของค่าวัสดุ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง ส่วนค่าแรงงานให้ใช้ตามบัญชีค่าแรงงาน/ดำเนินการสำหรับการถอดแบบคำนวณราคากลางงานก่อสร้าง

ที่มา : หน้า 134 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์  2555




79 งานระบบปรับอากาศและเครื่องกล (1/2)

ในการถอดแบบคำนวณปริมาณงานในส่วนของงานระบบปรับอากาศและเครื่องกล ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังต่อไปนี้
1)ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์แบบรูปรายการรวมทั้งรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้และติดตั้ง
ในการประมาณราคาในส่วนของงานระบบปรับอากาศและเครื่องกล นอกจากต้องศึกษาแบบรูปรายการอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ยังจะต้องศึกษารายการรายละเอียดและข้อกำหนดประกอบแบบรูปรายการอย่างถี่ถ้วนด้วย เพราะแบบรูปรายการอาจแสดงไว้เพียงสัญลักษณ์เท่านั้น มิได้กำหนดรายละเอียดประกอบอื่นใดเพิ่มเติมไว้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในแบบรูปรายการงานระบบปรับอากาศและเครื่องกลจะแสดงให้ทราบถึง
-ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System)
-ระบบระบายอากาศ (Ventilation System)
-ระบบปรับอากาศห้องสะอาด (Clean Room)
-ระบบปรับอากาศพิเศษสำหรับห้องคอมพิวเตอร์ (Precision Air Condtioning)
-ระบบห้องเย็น (Cold Room)
-ระบบอัดลมบันไดหนีไฟ (Staircase Pressure System)
-ระบบไอน้ำและน้ำร้อน (Boiler and Hot Water System)
-ระบบก๊าซเชื้อเพลิง (LPG Gas System)
-ระบบก๊าซทางการแพทย์ (Medical Gas)
-ระบบท่อในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Piping)
-ระบบก๊าซอัดแรงดันสูง (High Pressure Gas CO2, N2 Gas System)
-ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน (Elevator and Escalator)
-ระบบเครนขนถ่ายวัสดุ
เป็นต้น
โดยในบางระบบอาจดำเนินการเฉพาะในส่วนของการเดินท่อในระบบสุขาภิบาล เช่น ระบบท่อน้ำร้อน ระบบท่อก๊าซLPG เป็นต้น และในแต่ละอาคารอาจจะมีไม่ครบทุกระบบตามที่กล่าวมา แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับระบบหลักๆ ที่โครงการ/งานก่อสร้างอาคารส่วนใหญ่มี จะประกอบด้วย
-ระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System)
-ระบบระบายอากาศ (Ventilation System)
-ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน (Elevator and Escalator)
ทั้งนี้ แบบรูปรายการในส่วนของงานระบบปรับอากาศและเครื่องกลนั้น โดยทั่วไปแล้ว จะประกอบด้วย
-สารบัญแบบ
-สัญลักษณ์และความหมาย
-ตารางแสดงอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ
-แผนภาพแนวดิ่งของระบบต่างๆ(Riser Diagram)
-แผนภาพแสดงการเดินท่อกับอุปกรณ์ เครื่องจัก และอื่นๆ
-ผังบริเวณ
-แผนผังแสดงงานระบบปรับอากาศและหรือเครื่องกลชั้นต่างๆของอาคาร
-แบบแสดงรูปตัดของอาคาร
-แผนผังไฟฟ้ากำลัง
-แผนผังระบบควบคุม
-แบบขยายรายละเอียดการติดตั้งอุปกรณ์

เป็นต้น
ซึ่งในแบบรูปรายการแต่ละแผ่นอาจแสดงรายละเอียดไว้ระบบเดียวหรือหลายระบบ ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและปริมาณงานและรายละเอียดที่ต้องแสดง หากมีรายละเอียดมากก็ควรแยกตามระบบต่างๆก่อน แล้วจึงแบ่งเป็นแต่ละงาน/กลุ่มงานต่อไป และเมื่อศึกษาแบบรูปรายการและรายละเอียดรวมทั้งข้อกำหนดต่างๆดีแล้ว ก็สามารถเริ่มการแยกเนื้องานและสำรวจปริมาณต่อไป
2)การแยกงานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพื่อกำหนดรายการและปริมาณงาน
เมื่อได้ศึกษาแบบรูปรายการและรายการละเอียดต่างๆโดยภาพรวมแล้ว จึงทำการแยกงานและปริมาณวัสดุ อุปกรณ์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีข้อควรระวัง ดังนี้
2.1)การเลือกใช้บรรทัดมาตราส่วน(Scale) ต้องเป็นมาตราส่วนเดียวกันกับในแบบรูปรายการในแต่ละแผ่น โดยอาจใช้มาตราส่วนเดียวหรือหลายมาตราส่วนก็ได้ โดยสังเกตได้จากข้อกำหนดที่กำกับอยู่ใต้แบบรูปรายการ
2.2)ควรมีการเผื่อปริมาณวัสดุ ซึ่งเกิดจากความเสียหายหรือเศษวัสดุเหลือจากการใช้งาน เช่น เศษจากการตัดท่อ เป็นต้น
2.3)ควรมีการเผื่อวัสดุเนื่องจากการติดตั้ง เช่น การหลบหลีกโครงสร้างของอาคารส่วนที่เป็นคานรวมทั้งท่อในแนวดิ่งที่ไม่สามารถแสดงไว้ในแบบรูปรายการได้ โดยทั่วไปการเผื่อวัสดุกรณีนี้ จะเผื่อไว้ประมาณ10%ของปริมาณวัสดุที่สำรวจได้
2.4)การแยกงานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์เพื่อคำนวณราคาในงานระบบปรับอากาศนั้น ผู้ถอดแบบคำนวณราคาจะต้องเข้าใจในเรื่องระบบปรับอากาศก่อนว่ามีระบบ โครงสร้าง และการทำงานเป็นอย่างไร โดยได้แบ่งระบบปรับอากาศ ได้เป็นดังนี้
2.4.1)ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน(Split System)
2.4.2)ระบบปรับอากาศแบบน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยอากาศ(Chilled Water Air Cooled System)
2.4.3)ระบบปรับอากาศพิเศษต่างๆ เช่น
-ระบบปรับอากาศห้องคอมพิวเตอร์ (Precision Air Conditioning) และ
-ระบบปรับอากาศห้องสะอาด(Clean Room) เป็นต้น
2.4.4)ระบบห้องเย็น(Cold Room)
2.4.5)ระบบระบายอากาศ(Ventilation System)
สำหรับระบบปรับอากาศแบบส่วนกลาง ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นแบบถังน้ำเย็น(Chilled Water Storage)และแบบถังเก็บน้ำแข็ง(Ice Storage) ซึ่งสองระบบนี้จะช่วยในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้มาก เนื่องจากเครื่อวทำน้ำแข็งทำงานในตอนกลางคืนค่าไฟฟ้าราคาจะถูกกว่าเวลากลางวัน
เมื่อเข้าใจในระบบปรับอากาศแล้ว ก็สามารถแยกรายการ/งานและปริมาณวัสดุุปกรณ์ต่างๆได้โดยละเอียดต่อไป
ในส่วนของการสำรวจและแยกรายการ/งานและปริมาณวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบปรับอากาศแบบน้ำเย็นระบายความร้อนด้วยน้ำนั้น ปกติจะแยกวัสดุอุปกรณ์ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 อุปกรณ์ที่นับจำนวนได้ เช่น
-เครื่องทำน้ำเย็น (Chiller) มีกี่ชุด ขนาดกี่ตัน และเป็นเครื่องแบบใด
-หอผึ่งน้ำ (Cooling Tower) มีกี่ชุด ขนาดกี่ตัน และเป็นเครื่องแบบใด
-ปั๊มน้ำ มีกี่ชุด ขนาดกี่ลิตร/วินาที ความเร็วรอบเท่าใด และมอเตอร์กี่แรงม้า
-เครื่องมือส่งลมเย็น และเครื่องเป่าลมเย็น
-อุปกรณ์กรองน้ำ(Softener)
-ถังขยายตัวกรองน้ำ(Expantion Tank)
-ประตูน้ำ (Valueต่างๆ)
-อุปกรณ์ไฟฟ้า(Electrical Swtich Gear)
-อื่นๆ
ส่วนที่ 2 อุปกรณ์ที่วัดเป็นปริมาณ เช่น
-ท่อน้ำเย็น ท่อน้ำคอนเทนเนอร์
-ข้อต่ออุปกรณ์
-ฉนวนหุ้มท่อน้ำ
-ท่อลม
-ฉนวนหุ้มท่อลม
-หัวจ่ายลมและหัวดูดลม
อุปกรณ์ในส่วนที่2 ซึ่งวัดเป็นปริมาณดังกล่าว จะต้องวัดตามความยาวและต้องเผื่อค่าการลบมุม การเลี้ยวโค้ง ความสูงในแนวดิ่ง ด้วย

ที่มา : หน้า 131 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555






78 แนวทางการกำหนดรายการในแบบรายการคำนวณราคา หรือ BOQ งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร

     ในการกำหนดรายละเอียดรายการต่างๆ ในส่วนของานระบบไฟฟ้าและสื่อสารลงในแบบรายการคำนวณราคา หรือBOQ.(แบบ ปร.4) เพื่อคำนวณปริมาณ ค่าวัสดุ และค่าแรงงาน ต่อไป นั้น ผู้มีหน้าที่คำนวณราคาควรพิจารณากำหนดไว้เป็นหมวดหมู่ งาน หรือ กลุ่มงาน ตามแนวทาง ดังนี้
     7.1)หมวดงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร
     7.1.1)ระบบไฟฟ้า
     7.1.2)ระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     7.1.3)ระบบโทรศัพท์
     7.1.4)ระบบเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์
     7.1.5)ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
     7.1.6)ระบบเสียงประกาศ
     7.1.7)ระบบทีวีรวม
     7.1.8)ระบบทีวีวงจรปิด
     7.1.9)อื่นๆ ตามแบบรูปรายการ
     7.2)ระบบไฟฟ้า
     7.2.1)ไฟฟ้าแรงสูง

     7.2.2)หม้อแปลงไฟฟ้า

     7.2.3)เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
     7.2.4)แผงสวิตซ์ไฟฟ้าประธาน แผงสวิตซ์ไฟฟ้ารอง
     7.2.5)แผงย่อย แผงจ่ายไฟอื่นๆ
     7.2.6)แผงมิเตอร์ (กรณีอาคารชุด)
     7.2.7)Busways
     7.2.8)ท่อร้อยสาย และรางเดินสาย
     7.2.9)สายไฟฟ้า
     7.2.10)ดวงโคมและอุปกรณ์
     7.2.11)สวิตซ์ เต้ารับไฟฟ้า
     7.2.12)ระบบป้องกันไฟลาม
     7.2.13)ค่าธรรมเนียมการไฟฟ้า
     7.2.14)อื่นๆ ตามแบบรูปรายการ
     7.3)ระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     7.4)ระบบโทรศัพท์
     7.4.1)ตู้สาขาโทรศัพท์อัตโนมัติ (PABX) และอุปกรณ์
     7.4.2)แผงกระจายสายโทรศัพท์ เต้ารับโทรศัพท์
     7.4.3)ท่อ รางเดินสาย และสายโทรศัพท์
     7.4.4)อื่นๆ ตามแบบรูปรายการ
     7.5)ระบบอื่นๆ เช่น ระบบเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ ระบบแจ้งเหตุเพลิ่งไหม้ ระบบเสียงประกาศ ระบบทีวีรวม ระบบทีวีวงจรปิด ระบบควบคุมการใช้พลังงาน(2Wire Remote) ระบบควบคุมการเข้าออก (Access control) เป็นต้น

ที่มา : หน้า 129 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555





77 : สรุปการคิดคำนวณเปอเซนต์การเผื่องานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร

ตารางเปอเซนต์การเผื่องานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร
.................
หมายเหตุ:
     1)รายการเบ็ดเตล็ด
     ก)อุปกรณ์ประกอบท่อสาย(Raceway) เช่น กล่องดึงสาย ข้อต่อ ข้อต่อยึด บุชชิ่ง ข้องอ ตัวจับยึด ล็อกนัท สกรู รางซี การทำสีสัญลักษณ์ตามมาตรฐานทั่วไป เป็นต้น
     ข)อุปกรณ์ประกอบสายไฟฟ้า เช่น วายนัท ตัวต่อสาย หางปลา หัวสาย ปลอดสี Cable Maker เทปพันสาย น้ำยาร้อยสาย กระดาษกาว เป็นต้น
     ค)อุปกรณ์ประกอบรางเดินสาย เช่น Hanger Support และ Fitting
     ง)อุปกรณ์ประกอบระบบล่อฟ้า เช่น แคล้มป์ประกับ น็อต สกรู แผ่นแบ๊กไลต์ และอื่นๆ เป็นต้น
     2)เปอเซนต์การเผื่อความยาว เช่น
     -เผื่อเศษท่อ เศษสาย ความสูญเสียจากการติดตั้ง
     -เผื่อความสูญเสียจากความยาวท่อที่ไม่สามารถใช้ท่อได้เต็มความยาว เช่น ท่อ 1 เส้น ยาว 3 เมตร หรือ 6 เมตร เป็นต้น
     -เผื่อความสูญเสียจากความยาวสายที่ไม่สามารถใช้สายได้เต็มความยาว เช่น สาย 1 ม้วน ยาว 100 เมตร หรือ 500 เมตร เป็นต้น
     -มาตรฐานกำหนดการใช้รหัสสีของสายเฟส สายนิวตรอน และสายดิน ทำให้ไม่สามารถใช้สายม้วนเดียวกันได้ทั้งหมด เป็นต้น

ที่มา : หน้า 127 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555


76 หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้าง : งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร (4/x)

     4.6)ระบบเสียงประกาศ
     หมายถึง ระบบเสียงประกาศเรียกเพื่อการอพยพหนีภัย ประกาศแจ้งข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ หรืออื่นๆ ที่มีลักษณะและหรือวิธีการที่เหมือนหรือคล้ายกัน ทั้งภายในอาคารและหรือนอกอาคาร โดยมีอุปกรณ์ควบคุม ไมโครโฟนประกาศ สายสัญญาณ และลำดพงประกาศ เชื่อมโยงกันเป็นระบบ
     4.6.1)แผงควบคุมและกระจายเสียงสัญญาณ (Public Address Rack, PA)
     ประกอบด้วย ตู้เก็บอุปกรณ์ (Sound Rack) เครื่องขยายสัญญาณเสียงระบบประกาศ (PA Amplifier) เครื่องรวมและควบคุมสัญญาณเสียงระบบประกาศ (Mix Pre Amp. หรือ Mixer) เครื่องเลือกโซนประกาศ(Speaker Selector)  ไมโครโฟนประกาศ เครื่องเล่นวิทยุAM/FM  เครื่องเล่นDVD/MP3 และหรืออื่นๆ  ในการถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีแยกรายการและนับจำนวนเป็นชุด  โดยระบุชนิดของวัสดุอุปกรณ์ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.6.2)สวิตซ์เลือกระดับสัญญาณเสียงและลำโพงประกาศ
     ประกอบด้วย สวิตซ์เลือกระดับสัญญาณเสียง(Volume Control) และลำโพงประกาศ  ในการถอดแบบสำรวจปริมาณ  ให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด  โดยระบุชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.6.3)ท่อร้อยสายและรางเดินสายระบบเสียงประกาศ
     4.6.3.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสาย เช่น IMC, EMT, PVC, uPVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายซึ่งมีหน่วยเป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดรางเดินสาย(Wireways) ขนาดรางเดินสาย และความหนาของรางเดินสาย
     4.6.3.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อร้อยสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)รางเดินสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     4.6.4)สายระบบเสียงประกาศ
     4.6.4.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ระบุชนิด และขนาดสาย เช่น 2.5THW, 2.5VTF เป็นต้น
     (2)สายอื่นๆ ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.6.4.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.7)ระบบทีวีรวม
     หมายถึง ระบบเสาอากาศทีวีรวมและจานดาวเทียม ใช้สำหรับการกระจายสัญญาณทีวีหรือโทรทัศน์ภายในอาคาร โดยมีอุปกรณ์รับสัญญาณทีวี อุปกรณ์รับและขยายสัญญาณทีวี สายสัญญาณทีวี และจุดจ่ายสัญญาณทีวีเชื่อมโยงกันเป็นระบบ
     4.7.1)เสาอากาศ(Antenna) และจานดาวเทียม(Satellite Dish)
     ประกอบด้วย เสาอากาศทีวี จานรับสัญญาณดาวเทียม พร้อมอุปกรณ์ครบชุด(คอจาน เสา และ LNBF เป็นต้น) ในการถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดวัสดุอุปกรณ์ แถบหรือย่านความถี่ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.7.2)ชุดเครื่องรับและขยายสัญญาณ
     ประกอบด้วย ตู้เก็บอุปกรณ์(Head End Rack) เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม(Sattleite Receiver) เครื่องขยายสัญญาณ(Amplifier) เครื่องจ่ายกำลังไฟฟ้า(Power Supply) และอื่นๆ ในการถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีแยกรายการและนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.7.3)ชุดแนกและกระจายสัญญาณ
     ประกอบด้วย ชุดแยกสัญญาณ(Tap Off) และชุดกระจายสัญญาณ(Splitter หรือ Distribution Box) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีคุณสมบัติทำให้ได้สัญญาณที่จุดเต้ารับต่างๆ มีความแรงของสัญญาณระหว่าง 60-80dbuv ในการถอดแบบสำรวจปริมาณใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.7.4)เต้าเสียบจ่ายสัญญาณ
     เป็นจุดเต้ารับ สำหรับจ่ายสัญญาณทีวีที่มีความแรงของสัญญาณระหว่าง 60-80 dbuv ในการถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดพร้อมฝาครอบ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.7.5)ท่อร้อยสายและรางเดินสายสัญญาณทีวี
     4.7.5.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสาย เช่น IMC, EMT, PVC, uPVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายซึ่งมีหน่วยเป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดรางเดินสาย(Wireways) ขนาดรางเดินสาย และความหนาของรางเดินสาย
     4.7.5.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อร้อยสาย  ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)รางเดินสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     4.7.6)สายสัญญาณทีวี
     4.7.6.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ระบุชนิดสาย เช่น RG6, RG11 เป็นต้น
     (2)สายอื่นๆ ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.7.6.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.8)ระบบทีวีวงจรปิด
     ระบบโทรทัศน์วงจรปิด (Close Circuit Television System หรือ Video Surveillance System) เป็นระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่ถูกจับภาพโดยกล้องวงจรปิด(CCTV Camera) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัยหรือใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ นอกเหนือจากการรักษาความปลอดภัยตามปกติ
     4.8.1)เครื่องรวมและบันทึกข้อมูลภาพ
     หมายถึง เครื่องรวมและบันทึกข้อมูลภาพแบบ DVR (Digital Video Recorder), NVR Appliance (Network Video Recorder)  และ PC Based NVR( NVR Software) และอื่นๆตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ การถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดและคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุอุปกรณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบ
     4.8.2)กล้องทีวีวงจรปิด
     เป็นกล้องแบบมาตรฐานหรือแบบกล่อง(Box Type)แบบ Bullet หรือแบบโคม(Dome Type) พร้อมอุปกรณ์ครบชุด เช่นเลนส์ ขายึดและกล่องครอบ (Housing) ในการถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.8.3)มอนิเตอร์
     ใช้สำหรับแสดงข้อมูลภาพ ในการถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิด ขนาด ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.8.4)ท่อร้อยสายและรางเดินสายสัญญาณทีวีวงจรปิด
     4.8.4.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสาย เช่น IMC, EMT, HDPE, PVC, uPVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายซึ่งมีหน่วยเป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดรางเดินสาย(Wireways) ขนาดรางเดินสาย และความหนาของรางเดินสาย
     4.8.4.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำราจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อร้อยสาย  ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)รางเดินสาย  ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     4.8.5)สายสัญญาณทีวีวงจรปิด
     4.8.5.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ระบุชนิดสาย เช่น RG6, RG59, UTP เป็นต้น
     (2)สายอื่นๆ ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.8.5.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     5)การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการถอดแบบ(Breakdown Sheet) งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร
Breakdown Sheet หมายถึงแผ่นงานสำหรับเก็บบันทึกข้อมูลดิบ ที่ได้จากถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์ทั้งวิธีการนับจำนวนและวิธีการวัดปริมาณ เป็นขั้นตอนที่ดำเนินการต่อเนื่องจากการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์โดยกรอกข้อมูลที่ได้ลงในแบบฟอร์มหรือไฟล์ Breakdown Sheet ที่จัดเตรียมไว้สำหรับเก้บข้อมูลจำนวน(Quantity) หรือความยาว (Length) หรือ พื้นที่(Area) ของวัสดุอุปกรณ์ โดยแยกเป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และการนำไปใช้เพื่อการคำนวณราคาต่อไป ทั้งนี้
     5.1)หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำ Breakdown Sheet
     แนวทางและวิธีการทำ  Breakdown Sheet ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ถอดแบบและคำนวณราคา ซึ่งอาจจัดทำเป็นตารางข้อมูลเปล่า ซึ่งเมื่อนำไปใช้งาน ผู้ใช้สามารถกำหนดและเขียนข้อมูลที่ต้องการบันทึกได้ด้วยตนเอง การจัดทำ Breakdown Sheet ในทางปฏิบัติอาจไม่จำเป็นต้องจัดทำเพื่อเก็บข้อมูลทุกรายการ เนื่องจากบางหมวดงาน เช่น สวิตซ์เกียร์แรงสูง หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เครื่องสำรองไฟฟ้าแบบต่อเนื่อง(UPS) สวิตซ์เกียร์แรงต่ำและแผงย่อย เป็นต้น สามารถถอดแบบนับจำนวนวัสดุอุปกรณ์พร้อมการจัดทำและบันทึกข้อมูลในรายการคำนวณราคาโดยไม่ต้องจัดเก็บข้อมูลใน Breakdown Sheet ซ้ำอีก หรือกรณีถอดแบบนับจำนวนด้วยโปรแกรม AutoCAD หรืออื่นๆ ก็สามารถจัดเก็บบันทึกไฟล์ Breakdown Sheet ได้เช่นเดียวกัน
     5.2)ประเภทของ Breakdown Sheet
     สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งาน ได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
     5.2.1)Breakdown Sheet สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวน เช่น ดวงโคมไฟฟ้า สวิตซ์ เต้ารับไฟฟ้า เสาล่อฟ้า หลักสายดิน เต้ารับโทรศัพท์ เต้ารับทีวี อุปกรณ์ระบบตรวจจับและแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ลำโพงประกาศ กล้องทีวีวงจรปิด เป็นต้น การจัดเก็บข้อมูลควรแยกเป็นหมวดหมู่ แยกประเภท แยกชั้น ตามประเภทและชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการถอดแบบนับจำนวนด้วยมือและถอดแบบนับจำนวนด้วยโปรแกรม AutoCAD หรืออื่นๆ
     5.2.2)Breakdown Sheet สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้จากการวัดปริมาณงาน เช่น Duct Bank ท่อร้อยสาย รางเดินสาย สายไฟฟ้า สายตัวนำล่อฟ้า สายตัวนำลงดิน สายโทรศัพท์ สายสัญญาณคอมพิวเตอร์ สายทีวี ระบบป้องกันไฟลาม เป็นต้น สามารถคิดคำนวณการเผื่อความยาวบันทึกเป้นข้อมูลสุดท้ายก่อนนำไปใช้งานได้ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งการถอดแบบวัดปริมาณด้วยมือและถอดแบบวัดปริมาณด้วยโปรแกรมAutoCAD หรืออื่นๆ

ตัวอย่าง Breakdown Sheet......................

ที่มา : หน้า 120 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555

75 หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร (3/x)

     4.2)ระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     หมายถึงระบบป้องกันฟ้าผ่าตามมาตรฐานระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับสิ่งปลูกสร้างของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย(วสท.) ซึ่งเป็นระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอก มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงต่อความเสียหายจากการเกิดฟ้าผ่า ประกอบด้วย ตัวนำล่อฟ้า ตัวนำลงดิน และหลักสายดินที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบ
     การถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์ ทำได้ด้วยวิธีนับจำนวน ได้แก่ เสาล่อฟ้าพร้อมฐาน หลักสายดิน จุดทดสอบ(Test Box) บ่อหลักสายดิน(Earth Pit) อุปกรณ์สำหรับการต่อเชื่อม(Exothermic Welding) สำหรับแคล้มประกับ น๊อต สกรู หรืออาจใช้วิธีการนับจำนวนแบบเหมารวมตามความเหมาะสม
วัสดุอุปกรณ์ที่ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีวัดความยาว ได้แก่ แถบตัวนำล่อฟ้า สายตัวนำล่อฟ้า สายตัวนำลงดิน รากสายดินแบบวงแหวน(Earth Loop) ให้คิดเผื่อความยาว10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ดอีก10-15%
     4.3)ระบบโทรศัพท์(Telephone System)
     4.3.1)ตู้ชุมสายโทรศัพท์อัตโนมัติ(PABX)
     เป็นอุปกรณ์สำหรับต่อเชื่อมสลับสายโทรศัพท์อัตโนมัติ ให้พิจารณารายละเอียดจากแบบและรายการประกอบแบบ โดยควรมีรายละเอียดตู้ชุมสายและอุปกรณ์ประกอบระบบที่ต้องการใช้ที่สามารถถอดแบบคำนวณราคาได้ ในการถอดแบบสำรวจปริมาณใช้วิธีเหมารวมเป็นชุด  ทั้งนี้ในรายละเอียดรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     4.3.1.1)จำนวน และชนิดคู่สายภายนอก (อนาล็อก หรือ ดิจิตอล)
     4.3.1.2)จำนวน คู่สายภายในแบบดิจิตอล (ถ้ามี)
     4.3.1.3)จำนวน คู่สายภายในแบบอนาล็อก
     4.3.1.4)จำนวนคู่สายภายในแบบ IP (ถ้ามี)
     4.3.1.5)จำนวนโอเปอเนเตอร์ (พนักงานสลับสายโทรศัพท์)
     4.3.1.6)ระบบตอบรับอัตโนมัติ (ถ้ามี)
     4.3.1.7)ระบบบันทึกการใช้งานโทรศัพท์พร้อมอุปกรณ์ (ถ้ามี)
     4.3.2)เครื่องรับโทรศัพท์
     การถอดแบบสำรวจปริมาณ ให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด และควรระบุชนิดของเครื่องรับโทรศัพท์ ว่าเป้นแบบIP หรือแบบดิจิตอล หรือแบบอนาล็อก ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.3.3)แผงกระจายสายโทรศัพท์
     ประกอบด้วย แผงกระจายสายเมนรวม (MDF) และแผงกระจายสายย่อย (TC หรือ TB) การถอดแบบสำรวจปริมาณ ให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด และในรายละเอียดการคำนวณราคา ควรระบุชนิด(MDG, TC, Rack) รวมทั้งจำนวนคู่สาย (Pairs) ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.3.4)ท่อร้อยสายและรางเดินสายโทรศัพท์
     4.3.4.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสาย เช่น RMC, IMC, EMT, HDPE, PVC, uPVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายซึ่งกำหนดหน่วยเป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดรางเดินสาย (wireways) ขนาดรางเดินสายและความหนาของรางเดินสาย
     4.3.4.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งจามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริงจากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อร้อยสายเมน ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 5-10% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)ท่อร้อยสายป้อน ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (4)ท่อร้อยสายย่อย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (5)รางเดินสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     4.3.5)สายโทรศัพท์
     4.3.5.1)การระบุรายละเอียดในรายการถอดแบบคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดสายโทรศัพท์ เช่น AP, TPEV, TIEV จำนวนคู่สาย (Pairs) 10P, 20P, 30P เป็นต้น และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางสายโทรศัพท์ซึ่งหน่วยเป็นมิลลิเมตร ตามที่ระบุในแบบ
     (2)กรณีใช้สาย Fiber Optic หรือสาย UTP ให้ระบุรายละเอียดตามที่กำหนดตามแบบ
     4.3.5.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณ โดยใช้วิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)สายเมน ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 5-10% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     (3)สายป้อน ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     (4)สายย่อย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.3.6)เต้ารับโทรศัพท์
การถอดแบบสำรวจปริมาณ ให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด และระบุชนิดของเต้ารับโทรศัพท์เป็นชนิด RJ11 หรือ RJ45 ฝาครอบให้ระบุเป็นชนิดพลาสติก อลูมิเนียม หรือแสตนเลส หรือติดตั้งในกล่องฝังพื้นแบบPOP UP ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.3.7)ค่าธรรมเนียม
     กรณีในแบบและหรือรายการประกอบแบบ ได้ระบุให้มีค่าใช้จ่าย ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าเช่าเลขหมาย ค่าเช่าเครือข่ายสายความเร็วสูง และอื่นๆ สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากผู้ให้บริการ เช่น บริษัท ทศท.คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) เป็นต้น
     4.4)ระบบเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์
     หมายถึง ระบบเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ (Data Cabling System) และครอบคลุมถึงระบบเครือข่ายสายโทรศัพท์ IP Phoneด้วย
      4.4.1)แผงกระจายเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย แผงกระจายเครือข่ายสายเมน     คอมพิวเตอร์(Main Data Distribution Panel ; MDP หรือ Main Data Rack ; MDR) และแผงกระจายเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ย่อย(Data Panel ; DP หรือ Data Rack ; DR) ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.4.1.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิด และขนาดตู้แร็ค เช่น Rack 19"9U (60X60cm.) , Rack 19"42U(80X110cm) หรือ Server Rack 19"42U(80X110cm) เป็นต้น
     (2)อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ในตู้แร็ค เช่น FDU, F.O. Patch Panel, UTP Patch Panel, Patch Cord หรือ F.O. Connector เป็นต้น
     (3)รายละเอียดอุปกรณ์ประกอบภายในตู้แร็ค เช่น รางไฟ พัดลมระบายอากาศ หรือแผงจัดสาย เป็นต้น
      4.4.1.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการนับจำนวนแยกรายการเป็นชุด
     (2)แผงประเภท ชนิด และขนาดเดียวกัน ให้ันับจำนวนรวมเป็นชุด
     4.4.2)ท่อร้อยสายและรางเดินสายสัญญาณคอมพิวเตอร์
     4.4.2.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสาย เช่น RMC, IMC, EMT, HDPE, uPVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายซึ่งมีหน่วยเป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดรางเดินสาย (Wireways) ขนาดรางเดินสาย และความหนาของรางเดินสาย
     4.4.2.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อร้อยสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)รางเดินสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     4.4.3)สายสัญญาณคอมพิวเตอร์
     4.4.3.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณรคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)สาย Fiber Optic ให้ระบุชนิด Single mode (SM) หรือ Multimedia (MM) ระบุขนาดและจำนวนแกน เช่น F.O.6 Core SM 9/125um หรือ F.O.6 Core MM 50/125UM เป็นต้น
     (2)สาย UTP ให้ระบุชนิด เช่น Cat.6 , Cat 6A ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.4.3.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจรงิที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.4.4)เต้ารับคอมพิวเตอร์
     การถอดแบบสำรวจปริมาณ ให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด พร้อมทั้งระบุชนิดของเต้ารับคอมพิวเตอร์เป็นชนิด RJ45 หรืออื่นๆ ระบุฝาครอบเป็นชนิดพลาสติก อลูมิเนีม หรือแสตนเลส หรือติดตั้งในกล่องฝังพื้นแบบPOP UP ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.5)ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
     4.5.1)แผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel ;FCP)
     เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ประมวลผล และแจ้งเตือนเพลิงไหม้ ของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.5.2)แผนแสดงแผนผังการแจ้งเหตุเพลิงไหม้(Graphic Annunciator ; ANN)
     เป็นแผนผังแสดงตำแหน่งแจ้งเตือนเพลิงไหม้ การถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุดโดยให้ระบุขนาดและชนิดของวัสดุอุปกรณ์ คามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.5.3)อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณ อุปกรณ์แจ้งเตือน และอุปกรณ์อื่นๆ
     ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับควัน(Smoke Detector) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) อุปกรณ์แจ้งเตือนเพลิงไหม้ด้วยเสียง(Alarm Bell, Alarm Speaker) อุปกรณ์สำหรับแจ้งเตือนเพลิงไหม้ด้วยแสง(Strobe Light) มอนิเตอร์โมดูล คอนโทรลโมดูล คอนโทรลรีเลย์โมดูล และอื่นๆ การถอดแบบสำรวจปริมาณให้ใช้วิธีนับจำนวนเป็นชุด โดยระบุชนิดของวัสดุอุปกรณ์ ตามรายละเอียดที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.5.4)ท่อร้อยสายและรางเดินสายระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
     4.5.4.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสาย เช่น IMC, EMT, PVC, uPVC  เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายซึ่งหน่วยเป็นนิิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดรางเดินสาย (Wireways) ขนาดรางเดินสาย และความหนาของรางเดินสาย
     4.5.4.2)การถอดแบบสำราจปริมาณงาน
     (1)ถอดแบบสำราจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อร้อยสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)รางเดินสาย ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     4.5.5)สายระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
     (1)ระบุชนิด และขนาดสาย เช่น 2.5 FRC, 1.5THW เป็นต้น
     (2)สายอื่นๆ เช่น TIEV, STP ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.5.5.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง จากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ให้คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%

ที่มา : หน้า 115 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

74 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร (2/x)

     4)วิธีการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์
     4.1)งานระบบไฟฟ้า
     4.1.1)งานระบบไฟฟ้าแรงสูง
ขอบเขตงานระบบไฟฟ้าแรงสูง กำหนดให้เริ่มต้นจากจุดติดตั้งมิเตอร์ของการไฟฟ้า หรือจุดต่อเชื่อมรับไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้า เดินสายไฟฟ้าแรงสูง ระบบสายอากาศหรือระบบสายใต้ดินต่อเนื่องเข้าโครงการ/งานก่อสร้าง ไปยังตำแหน่งติดตั้งสวิตซ์เกียร์แรงสูง และ/หรือหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอาคารต่อไป
     4.1.1.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อย ดังนี้
     (1)อุปกรณ์ป้องกันระบบ เช่น สวิตซ์เกียร์แรงสูง (RMU) ฟิวส์ Dropout ล่อฟ้าระบุขนาดพิกัดแรงดัน พิกัดกระแสลัดวงจร และอื่นๆ ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ เช่น RMU 2 In/2 Out 24kV เป็นต้น
     (2)เสาไฟฟ้าแรงสูง ระบุความยาวเสา ระดับแรงดันที่ใช้ พร้อมอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง ตามมาตรฐานการไฟฟ้า
     (3)สายไฟฟ้า ระบุชนิด ขนาด และพิกัดแรงดันใช้งานของสาย ตามที่ระบุในแบบ
     (4)Duct Bank ระบุขนาดและชนิดท่อ และจำนวนท่อร้อยสายภายใน Duct Bank เช่น 2x2 Duct Bank(HDPE 125mm) เป็นต้น
     (5)บ่อดึงสาย บ่อพักสาย เช่น Man Hole Hand Hole ระบุขนาดหรือชนิด(TYPE) ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.1.1.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
    (1)สวิตซ์เกียร์แรงสูง (RMU) บ่อดึงสาย บ่อพักสาย นับจำนวนเป็นชุด
     (2)เสาไฟฟ้าแรงสูงและอุปกรณ์ นับจำนวนเป็นชุด (รวมอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง)
     (3)สายไฟฟ้าแรงสูง วัดความยาวมีหน่วยเป็นเมตร โดยวัดเผื่อปลายสายแนวตั้งทั้งด้านต้นทางและปลายทางตามสมควร (ให้อยุ๋ในดุลยพินิจของผู้คำนวณราคากลาง)
     (4)Duct Bank วัดความยาวมีหน่วยเป็นเมตร
     4.1.1.3)การเผื่อความยาว
    (1)สายไฟฟ้าแรงสูงสายอากาศ      เผื่อความยาว 20-25%
    (2)สายไฟฟ้าแรงสูงใต้ดิน              เผื่อความยาว 10-15%
    (3)HV Duct Bank                         เผื่อความยาว 10-15%
     4.1.1.4)การเผื่อเบ็ดเตล็ด
     (1)สายไฟฟ้าแรงสูงสายอากาศ      เผื่่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     (2)สายไฟฟ้าแรงสูงใต้ดิน             เผื่อเบ็ดเตล็ด 10-15%
     (3)HV Duct Bank                        เผื่อเบ็ดเตล็ด 10-15%
     4.1.2)หม้อแปลงไฟฟ้า
     เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนระดับแรงดันตามมาตรฐานการไฟฟ้า และจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอาคาร ประกอบด้วย หม้อแปลงไฟฟ้าชนิดน้ำมันแบบติดตั้งบนนั่งร้านหรือตั้งพื้นบนฐานคอนกรีตล้อมรั้ว และหม้อแปลงไฟฟ้าชนิดแห้งพร้อมตู้ครอบที่มีระบบระบายอากาศและระบบควบคุมรายละเอียดจากแบบและรายการประกอบแบบ
      4.1.2.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ระบุชนิด ขนาด พิกัดด้านกำลังไฟฟ้า หน่วยเป็น เควีเอ และขนาดพิกัดแรงดันตามที่ระบุในแบบพร้อมอุปกรณ์ประกอบมาตรฐานครบชุด ตามที่ระบุในแบบแปลนและรายการประกอบแบบ
     (2)กรณ๊เป็นหม้อแปลงชนิดน้ำมันควรระบุรายการนั่งร้าน หรือรั้วและฐานคอนกรีตแยกรายการจากตัวหม้อแปลง
     4.1.2.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)หม้อแปลงชนิดน้ำมัน หรือหม้อแปลงชนิดแห้ง พร้อมตู้ครอบและอุปกรณ์ครบชุด ให้ถอดแบบนับจำนวนเป็นชุด
     (2)เฉพาะนั่งร้านหม้อแปลง หรือรั้ว และฐานคอนกรีต ให้คำนวณแบบเหมารวม
     4.1.3)เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
ใช้สำหรับจ่ายกำลังไฟฟ้าสำรองกรณีำฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคาร เช่น ลิฟต์ ดับเพลิง ปั๊มน้ำ ไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบอัดอากาศ และอื่นๆ ตามที่ระบุรายละเอียดในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.1.3.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ระบุชนิด ขนาดพิกัดด้านกำลังไฟฟ้า หน่วยเป็น เควีเอ หรือ กิโลวัตต์ และขนาดพิกัดแรงดันตามที่ระบุในแบบ พร้อมอุปกรณ์ประกอบมาตรฐานครบชุด ตามที่ระบุในแบบและรายการประกอบแบบ
     (2)กรณ๊ติดตั้งภายนอกอาคารควรระบุพร้อมชุดตู้ครอบกันน้ำ ตู้ครอบกันเสียงดังเกินมาตรฐาน และฐานคอนกรีต
     (3)ระบุรายละเอียดขนาดพิกัดกระแสใช้งานของ โอโตเมติกส์ทรานส์เฟอร์สวิตซ์(ATS) พร้อมชุดควบคุม (กรณีรูปแบบกำหนดให้รวมในหมวดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง)
     4.1.3.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ใช้วิธีการนับจำนวนเป็นชุด พร้อมอุปกรณ์ประกอบมาตรฐานครบชุด ตามที่ระบุรายละเอียดในแบบและรายการประกอบแบบ
     (2)ระบบป้องกันเสียงในห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง ถอดแบบแยกรายการวัดปริมาณพื้นที่เป็นตารางเมตร
     (3)ระบบระบายอากาศเข้าและระบบระบายอากาศออก ถอดแบบแยกรายการวัดปริมาณงานเป็น x (ระบุ)
     4.1.4)แผงสวิตซ์เกียร์ต่ำ
     ครอบคลุมถึงแปงสวิตซ์ไฟฟ้าประธาน(MDB) แผงสวิตซ์ไฟฟ้าประธานฉุกเฉิน (EMDB)  แผงจ่ายไฟรอง(DB)  และอื่นๆ ตามที่ปรากฏในแบบวงจรเส้นเดียว (Single Line Diagram)
     4.1.4.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)เซอร์กิตเบรกเกอร์ ระบุชนิด ขนาดพิกัดกระแสใช้งาน (AT) ขนาดพิกัดกระแสลัดวงจร(IC)  จำนวนขั้ว(Pole) ตามที่ระบุในแบบและรายการประกอบแบบ
     (2)ระบุชุดอุปกรณ์ประกอบเซอร์กิตเบรกเกอร์ เช่น ชุด Trip Unit ชุด ShuntnTrip ชุด Ground Fault Protection เป็นต้น
     (3)ระบุรายละเอียดขนาดพิกัดกระแสใช้งานของ โอโตเมติกซ์ทรานส์เฟอร์สวิตซ์(ATS) พร้อมชุดควบคุม (กรณีรูปแบบกำหนดให้รวมในหมวดแผงสวิตซ์เกียร์แรงต่ำ หรือแผงสวิตซ์ไฟฟ้าประธาน)
    (4)คาปาซิเตอร์แบ๊งค์ ชุดควบคุมคาปาซิเตอร์ แมกเนติกคอนแท็คเตอร์ ฟิวส์และดีจูน ฟิลเตอร์ ระบุชนิด ขนาด ตามที่ระบุในแบบและรายการประกอบแบบ
     (5)ตู้ (Cubicle) บัสบาร์ อุปกรณ์เครื่องวัด และอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง ระบุรายการแยกคำนวณแบบเหมารวม ระบุฟอร์มตู้และ/หรือชนิดการทดสอบ เช่น ตู้ไฟฟ้าทดสอบเฉพาะแบบ(Type Test Assemblies ; TTA) ตู้ มอก. เป็นต้น
     4.1.4.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)เซอร์กิตเบรกเกอร์ โอโตเมติกทรานส์เฟอร์สวิตซ์ (ATS) (ถ้ามี) พร้อมอุปกรณ์ประกอบ ถอดแบบนับ  จำนวนเป็นชุด
     (2)คาปาซิเตอร์แบ๊งค์ ชุดควบคุมคาปาซิเตอร์ แมกเนติกคอนแท๊คเตอร์ ฟิวส์ และดีจูน ฟิลเตอร์ ถอดแบบนับจำนวนเป็นชุด
     (3)ตู้ (Cubicle) บัสบาร์ อุปกรณ์เครื่องวัด และอุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง คิดคำนวณแบบเหมารวม
     4.1.5)แผงจ่ายไฟย่อย หรือแผงย่อย (Panel Board or Load Center)
     หมายถึง แผงจ่ายไฟย่อยระบบไฟฟ้าแสงสว่าง แผงจ่ายไฟย่อยเต้ารับไฟฟ้า แผงจ่ายไฟย่อยระบบปรับอากาศ และแผงจ่ายไฟย่อยอื่นๆ ตามที่ระบในแบบ
     4.1.5.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ระบุจำนวนวงจร ขนาดพิกัดกระแสใช้งานสูงสุดของ Main Lug ทั้งแบบมีเมนและไม่มีเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ เช่น แผงขนาด 1 2 วงจร  ขนาด Main Lug 100A ไม่มีเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ แผงขนาด 24 ขนาดMain Lug 100A เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ 60AT, 3P IC 25KA เป็นต้น
      (2)ขนาดพิกัดกระแสใช้งาน(AT) กระแสลัดวงจร(IC) และจำนวนขั้ว(Pole) ของเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน เช่น 60AT, 3P IC 18 kA, 100AT,3P IC 25 kA เป็นต้น
     (3)ขนาดพิกัดกระแสใช้งาน(AT) กระแสลัดวงจร (IC) และจำนวนขั้ว (Pole) ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อย (Miniature CB) เช่น 16AT, 1P IC 6 kA, 32AT, 3P IC 10kA เป็นต้น
     4.1.5.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีนับจำนวนแยกรายการวัสดุอุปกรณ์ในแต่ละแผงย่อย ตามรายละเอียดที่แสดงในแบบและรายการประกอบแบบ หรือ
     (2)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการนับจำนวน โดยสรุปรวมรายการแผงย่อยที่มีชนิด ขนาด และจำนวนวัสดุอุปกรณ์เท่ากัน เช่น จำนวนวงจรย่อย ขนาด Main Lug ขนาดเมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ ขนาด และจำนวนเซอร์กิตเบรกเกอร์ย่อยเท่ากัน เป็นต้น
     4.1.6)ท่อสายเมน
หมายถึง ท่อสายจากมิเตอร์การไฟฟ้า(แรงต่ำ) หรือจากหม้อแปลงไฟฟ้า ถึงแผงสวิทซ์ไฟฟ้าประธาน(MDB)
     4.1.6.1)การระบุรายละเอียดในการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสายไฟฟ้า เช่น RMC ,IMC, EMT, HDPE, PVC  เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายไฟฟ้าหน่วยเป็นนิ้ว หรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดสายไฟฟ้า เช่น THW , NYY , CV เป็นต้น จำนวนแกน (Core) เช่น 1 Core, 2 Core, 3 Core, 4 Core เป็นต้น และขนาดสายไฟฟ้า หน่วยเป็นตารางมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
      4.1.6.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาวทั้งหมดตามแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อ ให้คำนวณเผื่อความยาว 5-10% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)สาย ให้คำนวณเผื่อความยาว 5-10% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.1.7)ท่อสายป้อน (Feeder)
      หมายถึง ท่อสายจากแผงสวิทซ์ไฟฟ้าประธาน(MDB) ถึงแผงไฟฟ้าสำรอง(DB) แผงย่อย(LP) ระบบไฟฟ้า แผงย่อยระบบปรับอากาศ และอื่นๆ เช่น แผงจ่ายไฟสำหรับระบบสุขาภิบาล แผงจ่ายไฟระบบลิฟต์ เป็นต้น
     4.1.7.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อย ดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสายไฟฟ้า เช่น RMC, IMC, EMT, HDPE, PVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายไฟฟ้า หน่วยเป็นนิ้วหรือเป็นมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     (2)ชนิดสายไฟฟ้า เช่น THW, NYY, VCT เป็นต้น จำนวนแกน(Core) เช่น 1 Core, 2 Core, 3 Core, 4 Core เป็นต้น และขนาดสายไฟฟ้า หน่วยเป็นตารางมิลลิเมตรตามที่ระบุในแบบ
     4.1.7.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีการวัดปริมาณความยาว ทั้งจามแนวนอนและแนวตั้ง ตามความเป็นจริงจากต้นทางถึงปลายทาง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริงที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อ คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)สาย คิดคำนวณเผื่อความยาว 10-15% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.1.8)ท่อสายวงจรย่อย (Branch Circuit)
     หมายถึงท่อสายวงจรย่อย วงจรดวงโคม และวงจรย่อยเต้ารับ หรืออื่นๆที่คล้ายหรือมีลักษณะเดียวกัน โดยเป้นท่อสายวงจรย่อย จากแผงย่อยไปยังดวงโคม หรือสวทิซ์ หรือเต้ารับจุดแรก เรียกว่า Home Run  ให้ถอดแบบสำรวจปริมาณด้วยวิธีวัดปริมาณความยาว ผู้ถอดแบบคำนวณราคาควรศึกษารายละเอียดวิธีการเดินสายตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบก่อนดำเนินการ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันความคลาดเคลื่อนในการวัดปริมาณความยาวของท่อสายไฟฟ้า เนื่องจากวิธีการเดินสายหากเป็นการเดินสายเกาะผนัง ปริมาณความยาวและวิธีการวัดจะแตกต่างไม่เหมือนกับสายที่เดินร้อยสาย
     โดยทั่วไปแบบแปลนจะแสดงวงจรย่อยไฟฟ้าแสงสว่างและวงจรย่อยเต้ารับ จะไม่แสดงชนิด ขนาด จำนวนสายไฟฟ้า และชนิดและขนาดท่อร้อยสาย ในแบบแปลน ดังนั้น ก่อนการวัดความยาวของท่อสายวงจรย่อย ผู้ถอดแบบคำนวณราคาต้องศึกษาวิเคราะห์รายละเอียดจากแบบและรายการประกอบแบบ  คิดคำนวณจำนวนสายไฟฟ้าในแต่ละท่อร้อยสาย และเลือกชนิด ขนาดท่อร้อยสายที่ได้ตามาตรฐาน
     4.1.8.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดท่อร้อยสายไฟฟ้า เช่น RMC, IMC, EMT, PVC, uPVC เป็นต้น และขนาดท่อร้อยสายไฟฟ้า หน่วยเป็นนิ่วหรือเป็นมิลลิเมตร ตามที่ระบุในแบบ
      (2)ชนิดสายไฟฟ้า เช่น THW, NYY, VCT  เป็นต้น จำนวนแกน(Core) เช่น 1 Core, 2 Core, 3 Core, 4 Core เป็นต้น และขนาดสายไฟฟ้า หน่วยเป็นตารางมิลลิเมตรตามทีระบุในแบบ
     4.1.8.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)วัดและคำนวณความยาว ทั้งตามแนวนอนและแนวตั้ง โดยคำนึงถึงสภาพหน้างานจริง ที่จะติดตั้งด้วย
     (2)ท่อ คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 15-20%
     (3)สาย คิดคำนวณเผื่อความยาว 15-20% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.1.9)บัสเวย์ (Busways)
     ตัวนำของบัสเวย์(Busways) เป็นชนิดทองแดงหรืออลูมิเนียม ซึ่งแบ่งตามลักษณะการใช้งานเป็น 2 แบบ คือ แบบFeeder Busways และ แบบ Plug-In Busways  การถอดแบบคำนวณราคาพิจารณาได้จากรายละเอียดที่กำหนดไว้ในแบบและรายการประกอบแบบ
     4.1.9.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิดตัวนำทองแดงหรืออลูมิเนียม
     (2)ขนาดพิกัดกระแสใช้งาน(A) และขนาดพิกัดกระแสลัดวงจร(IC)
     (3)ระดับการป้องกันสิ่งห่อหุ้ม (Ingress of Protection ; IP)
     (4)ชนิด Feeder Busways หรือ Plug-In Busways
     4.1.9.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)บัสเวย์ (Busways) ถอดแบบวัดปริมาณตามความยาวแนวนอนและแนวตั้งตามความเป็นจริง โดยผู้ถอดแบบคำนวณราคาสามารถพิจารณาได้จากแบบ ซึ่งอาจแสดงแผนผังเส้นทางการติดตั้งและแผนภาพไอโซเมตริก  กรณีไม่มีแผนผังและแผนภาพไอโซเมตริกในแบบ ถอดแบบคำนวณราคาสามารถกำหนดแนวเส้นทางการติดตั้งแบบแปลนได้ ทั้งนี้ผู้ถอดแบบคำนวณราคาต้องมีความรู้ความเข้าใจและวิธีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวด้วย
     (2)Plug-In Unit หรือ Tap Off Unit หรือ Plug In CB  ใช้วิธีนับจำนวน
     (3)อุปกรณ์ประกอบการติดตั้ง เช่น Elbow , Flanged End  ,End closures ใช้วิธีการนับจำนวน
     (4)คิดคำนวณเผื่อความยาว 5-10% และเผื่อเบ็ดเตล็ด 5-10%
     4.1.10)ดวงโคมไฟฟ้า
     ดวงโคมไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีรายละเอียดลักษณะการใช้งานหลากหลายประเภท แต่อย่างไรก็ตาม สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ดวงโคมไฟฟ้าภายในอาคาร และดวงโคมไฟฟ้าภายนอกอาคาร ในการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์ดวงโคมไฟฟ้า ให้ใช้วิธีการนับจำนวนเป็นชุดโดยรวมอุปกรณ์ประกอบ
     4.1.10.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชื่อ ชนิด และรายละเอียด ดวงโคม ตามสมควร
     (2)ชนิดหลอดที่ใช้ จำนวนหลอด ขนาดพิกัดกำลังไฟฟ้าหน่วยเป็นวัตต์
     (3)อุปกรณ์ประกอบ เช่น บัลลาสต์โลว์ลอส บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
     (4)กรณีใช้ติดตั้งภายนอกอาคารควรระบุค่า IP ตามที่กำหนดไว้ในแบบ
     (5)ดวงโคมไฟฉุกเฉินควรระบุขนาดพิกัดกระแส-ชั่วโมง(Ah) ของแบตเตอรี่ด้วย
     4.1.10.2)การถอดแบบสำรวจปริมาณ
     (1)นับจำนวนเป็นชุด  โดยแยกเป็นแต่ละชนิด ตามที่กำหนดในแบบ สัญลักษณ์ และรายละเอียดของดวงโคม
     (2)ดวงโคมที่ใช้ชุดควบคุมการเปลี่ยนสี หรือชุดๅDriver หรือชุดหม้อแปลงร่วมกัน เช่น ดวงโคมที่ใช้หลอดLED  ควรถอดแบบนับจำนวนแยกรายการชุดควบคุม ตามที่ใช้งานจริง
     (3)ดวงโคมประเภทติดตั้งบนราง(Track Light) ให้ถอดแบบนับจำนวนดวงโคมเป็นชุด ส่วนราง Track Light ควรระบุความยาวเป็นเมตร และถอดแบบนับจำนวนเป็นชุดแยกตามขนาดความยาวที่ระบุ
     (4)ดำเนินการถอดแบบนับจำนวนในแบบแปลนด้วยมือ หรือใช้คำสั่งถอดแบบนับจำนวนใน Drwaing Fileด้วยโปรแกรม AutoCAD หรือโปรแกรมอื่นๆ
     4.1.11)สวิตซ์และเต้ารับไฟฟ้า
     สวิตซ์ หมายถึงอุปกรณ์ควบคุมการปิด เปิด ดวงโคมไฟฟ้า ควบคุมการหรี่ไฟ ควบคุมพัดลมระบายอากาศ หรือ อุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง มีทั้งแบบกดปิด เปิด แบบสัมผัส แบบตรวจจับความเข้มข้นของแสง แบบตรวจจับการเคลื่อนไหว แบบดิจิตอล เป็นต้น
เต้ารับไฟฟ้า หมายถึงอุปกรณ์ที่มีหน้าสัมผัส ติดตั้งเพื่อเป็นจุดจ่ายไฟสำหรับเต้าเสียบ 1 ตัว มีทั้งแบบ 1 เฟส และ 3 เฟส เต้ารับไฟฟ้าที่ใช้ในงานอาคารส่วนใหญ่เป็นแบบ 1 เฟส และควรเป็นชนิดมีขาดิน
     4.1.11.1)การระบุรายละเอียดในรายการคำนวณราคา ควรระบุอย่างน้อยดังนี้
     (1)ชนิด ขนาดพิกัดกระแสใช้งานสูงสุด ขนาดพิกัดแรงดันของสวิตซ์หรือเต้ารับหรือระบุขนาดกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์กรณีที่เป็นสวิตซ์หรี่ไฟ (Dimmer Switch)
     (2)เต้ารับไฟฟ้าควรระบุเป็นชนิดเต้ารับเดี่ยวหรือเต้ารับคู่ มีขาดินหรือไม่มีขาดิน ตามที่กำหนดในแบบและรายการประกอบแบบ
     (3)ระบุชนิดฝาครอบ เป็นแบบพลาสติก อลูมิเนียม หรือแสตนเลส หรือกล่องฝังพื้นแบบPOP UP
     4.1.11.2)การถอดแบบสำนวจปริมาณ
     (1)นับจำนวนเป็นชุด แยกเป็นแต่ละชนิดตามที่กำหนดในแบบ สัญลักษณ์ และ รายละเอียดสวิตซ์และเต้ารับไฟฟ้า
     (2)สวิตซ์รี่ไฟแบบดิจิตอลและชุดควบคุม ควรถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์แยกรายการเป็นชุด
     (3)ดำเนินการถอดแบบโดยนับจำนวนในแบบแปลนด้วยมือ หรือถอดแบบนับจำนวนด้วยโปรแกรม AutoCAD และอื่นๆ
     4.1.12)ระบบป้องกันไฟลาม
     หมายถึงวัสดุป้องกันไฟลามสำหรับงานระบบไฟฟ้า จะใช้ปิดป้องกันไฟและควันบริเวณช่องท่องานระบบไฟฟ้า และในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่ระบุไว้ในแบบและรายการประกอบแบบ ให้ใช้วิธีวัดพื้นที่มีหน่วยเป็น ตร.ม.
     4.1.13)ค่าธรรมเนียมการไฟฟ้า
ถอดแบบกำหนดรายการค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยใช้วิธีสืบค้นข้อมูล สอบถาม หรือจากเวบไซด์ของการไฟฟ้า (การไฟฟ้านครหลวง และหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

ที่มา : หน้า 109 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555



























วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

73 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร :งานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร(1/x)

     ในการถอดแบบและคำนวณปริมาณงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร รวมทั้งระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดซึ่งจำเป็นต้องศึกษา ทำตวามเข้าใจทั้งในส่วนของรูปแบบรายการ รายการประกอบแบบ และรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้การถอดแบบคำนวณปริมาณงานและราคา สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
     ในการถอดแบบคำนวณปริมาณงานในส่วนของงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารรวมทั้งระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และแนวทางดังต่อไปนี้
     1)การตรวจสอบรูปแบบรายการ (แบบ) และรายการประกอบแบบ
หลังจากผู้มีหน้าที่ถอดแบบคำนวณราคากลางได้รับแบบและรายการประกอบแบบ เพื่อใช้คำนวณราคาแล้ว ต้องพิจารณาตรวจสอบแบบและรายการประกอบแบบ ต่างๆดังนี้
     1.1)ความครบถ้วนของแบบและรายการประกอบแบบ
     1.1.1)ตรวจสอบจำนวนแผ่นของแบบที่ได้รับว่ามีจำนวนครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในสารบัญแบบหรือจำนวนแผ่นรวมที่ระบุหรือไม่
     1.1.2)ตรวจสอบรายละเอียดจำนวนหมวดงาน จำนวนหน้าแต่ละหมวดงานในรายการประกอบแบบที่  ได้รับว่า มีจำนวนหมวดงานและจำนวนหน้าครบถ้วนสอดคล้องกับหมวดงานในแบบหรือไม่
     1.2)ความสมบูรณ์ของแบบและรายการประกอบแบบ
     1.2.1)พิจารณาตรวจสอบแบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีรายละเอียดข้อมูล และขอบเขตงานเพียงพอสำหรับใช้คำนวณราคาหรือไม่
     1.2.2)พิจารณาตรวจสอบรายการประกอบแบบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีรายละเอียดข้อมูล และขอบเขตงานเพียงพอสำหรับใช้คำนวณราคาหรือไม่
     1.3)มาตราส่วน
     1.3.1)พิจารณาตรวจสอบวัดระยะตามมาตราส่วนที่ระบุในแบบว่ามีความถูกต้องตรงตามตัวเลขที่ระบุไว้หรือไม่
     1.3.2)สามารถใช้ถอดแบบคำนวณราคาได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
     1.4)การรับรองแบบและรายการประกอบแบบ
     1.4.1)แบบต้องมีแหล่งที่มาและมีการลงนามรับรองในแบบถูกต้อง
     1.4.2)รายการประกอบแบบต้องมีแหล่งที่มา และมีการลงนามรับรองถูกต้อง
     1.5)ข้อสังเกต ปัญหาที่พบและแนวทางแก้ไข
     1.5.1)ปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือแบบไม่ครบ แบบไม่สมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดระบุชนิด ขนาด และข้อกำหนดของอุปกรณ์ กรณีนี้แก้ไขปัญหาได้ โดยแจ้งขอข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
     1.5.2)แบบและรายการประกอบแบบ ไม่มีแหล่งที่มา ไม่มีการลงนามรับรอง แก้ไขปัญหาได้โดยแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
     1.5.3)รายละเอียดแบบฟอร์มปริมาณงานและราคาหรือแบบฟอร์มเปล่า(Blank Form) กรณีที่มีแนบมาพร้อมกับแบบและรายการประกอบแบบ ไม่สัมพันธ์สอดคล้องกัน ผู้มีหน้าที่ถอดแบบคำนวณราคาต้องแก้ไขจัดทำให้สอดคล้องกัน
     2)การศึกษาทำความเข้าใจรูปแบบรายละเอียด
ในแบบก่อสร้างอาคารนั้น แบบก่อสร้างหรือแบบรูปรายการ(Drawing)  และรายละเอียดประกอบแบบ(Specification) เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารความต้องการระหว่างผู้ออกแบบกับผู้รับจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆทุกฝ่าย รวมถึงผู้คำนวณราคากลาง เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน ทั้งในส่วนของงานด้านสถาปัตยกรรม งานวิศวกรรมโครงสร้าง และงานระบบประกอบอาคาร ซึ่งได้แก่ งานระบบไฟฟ้า งานระบบเครื่องกล งานระบบสุขาภิบาล และงานระบบอื่นๆ ดังนั้นผู้มีหน้าที่คำนวณราคา ต้องศึกษาทำความเข้าใจดังนี้
     2.1)ศึกษารายละเอียดลักษณะและประเภทของอาคารตามลักษณะการใช้งาน เช่น อาคารสำนักงาน อาคารชุด อาคารหอประชุม อาคารเรียน อาคารโรงพยาบาล เป็นต้น  และประเภทของอาคารตามกฏหมายควบคุมอาคาร เช่น อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสูง อาคารชุด เป็นต้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการพิจารณาสิ่งที่จำเป็นต้องมีในแต่ละประเภทอาคาร รวมถึงการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล การวิเคราะห์ราคาค่างาน การศึกษาวิเคาะห์รูปแบบ และการตรวจสอบซ้ำ เป็นต้น
     2.2)ศึกษารายละเอียดขอบเขตของงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารตามแบบและรายการประกอบแบบ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนถอดแบบ การสืบค้นราคา การจัดเก็บข้อมูล และการจัดทำรายการและปริมาณงาน เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดและขอบเขตงานที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจดังกล่าว ประกอบด้วย
     2.2.1)ระบบไฟฟ้า ได้แก่ ไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าแสงสว่าง และไฟฟ้าบริเวณ
     2.2.2)ระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     2.2.3)ระบบโทรศัพท์
     2.2.4)ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     2.2.5)ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
     2.2.6)ระบบเสียงประกาศ
     2.2.7)ระบบสัญญาณทีวีรวม
     2.2.8)ระบบทีวีวงจรปิด
     2.2.9)ระบบโสตทัศนูปกรณ์(ครุภัณฑ์จัดซื้อ)
     2.2.10)อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
     2.3)ศึกษารายละเอียดแบบแปลนงานระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ที่แสดงรายละเอียดในแบบและรายการประกอบแบบ ที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องต่อเนื่องกับส่วนต่างๆของแบบแปลน รวมถึงความสมบูรณ์ครบถ้วนของแบบรายละเอียดที่ใช้สำหรับคำนวณราคา โดยทั่วไปแบบงานระบบไฟฟ้าและสื่อสารจะประกอบด้วย
     2.3.1)สารบัญแบบ
     2.3.2)สัญลักษณ์ รายละเอียดงาน และรายละเอียดประกอบแบบ
     2.3.3)แบบไดอะแกรมเส้นเดียว(Single Line Diagram) รายละเอียด (Detail) แผงสวิตซ์บอร์ดต่างๆ
     2.3.4)แบบไดอะแกรมแนวตั้ง(Riser Diagram) ของงานทุกระบบ
     2.3.5)ตารางโหลด(Load Schedule) ระบบไฟฟ้า
     2.3.6)รูปลักษณ์ของวัสดุอุปกรณ์หรือแบบแสดงรายละเอียด(Detail)ต่างๆ
     2.3.7)ผังแสดงระบบการจ่ายไฟฟ้ากำลัง ผังแนวท่อสายเมนระบบไฟฟ้าและสื่อสาร ที่แสดงในผังบริเวณของโครงการ/งานก่อสร้าง
     2.3.8)ผังไฟฟ้ากำลัง ไฟฟ้าแสงสว่างและเต้ารับ ที่แสดงในแบบแปลน ซ฿่งมีรายละเอียดแสดงตำแหน่งติดตั้งและสามารถถอดแบบนับจำนวนและวัดปริมาณได้ ในมาตราส่วนที่เหมาะสม
     2.3.9)แบบแปลนระบบป้องกันฟ้าผ่าและการต่อลงดิน
     2.3.10)แบบระบบโทรศัพท์ ระบบเครือข่ายสายคอมพิวเตอร์ ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบสัญญาณทีวีรวม ระบบเสียงประกาศ ระบบทีวีวงจรปิด ระบบโสตทัศนูปกรณ์(ครุภัณฑ์จัดซื้อ) และอื่นๆที่แสดงในแบบแปลน ซึ่งมีรายละเอียดแสดงตำแหน่งติดตั้งและสามารถถอดแบบนับจำนวนและวัดปริมาณได้ในมาตราส่วนที่เหมาะสม
     2.3.11)แบบรายละเอียดอื่นๆ
     3)หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์
     หมายถึงการหาจำนวนหรือปริมาณของวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ/'านก่อสร้างที่ระบุในแบบและรายการประกอบแบบ
     หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการถอดแบบสำรวจปริมาณวัสดุอุปกรณ์ สามารถแบ่งตามลักษณะของวัสดุอุปกรณ์ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
     3.1)วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนับจำนวน
     หมายถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฏในแบบหรือรายการประกอบแบบ ที่ใช้วิธีการถอดแบบด้วยวิธีนับจำนวน ได้แก่หม้อแปลง แผงสวิทซ์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ดวงโคม สวิตซ์ เต้ารับ อุปกรณ์ระบบโทรศัพท์ ระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบเสียงประกาศ ระบบทีวีรวม ระบบทีวีวงจรปิด และอื่นๆ ที่มีอยู่ในแบบและรายการประกอบแบบ
     3.2)วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องวัดปริมาณ
     หมายถึง วัสดุอุปกรณ์ที่ปรากฏในแบบ  ซึ่งต้องใช้วิธีการถอดแบบด้วยวิธ๊วัดความยาว ได้แก่ ท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล Busways สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ สายสัญญาณต่างๆ มีหน่วยความยาวเป็นเมตร และใช้วิธีการถอดแบบด้วยวิธีวัดพื้นที่ ได้แก่ ระบบป้องกันไฟลาม มีหน่วยเป็นตารางเมตร เป็นต้น

ที่มา : หน้า 106 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555


วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559

72 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร :งานระบบสุขาภิบาล และระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย

     ในการคำนวณปริมาณงานในส่วนของงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย ให้ดำเนินการตามแนวทางดังต่อไปนี้
     1)ศึกษาทำความเข้าใจและวิเคราะห์แบบรูปรายการ รวมทั้งรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้รวมทั้งการติดตั้ง
     1.1)งานระบบสุขาภิบาล ดับเพลิง และป้องกันอัคคีภัย ประกอบด้วย
-ระบบท่อระบายน้ำโสโครก
-ระบบท่อระบายน้ำทิ้ง
-ระบบท่อระบายอากาศ
-ระบบท่อน้ำประปา
-ระบบท่อน้ำร้อน
-ระบบท่อระบายน้ำฝน
-ระบบท่อดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
-ระบบสุขาภิบาลภายนอกอาคาร
-ระบบบำบัดน้ำเสีย
-ระบบระบายน้ำผังบริเวณ
-ระบบรดน้ำต้นไม้
     1.2)รายละเอียดของรูปแบบรายการ และรายการประกอบแบบ ในส่วนของงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย จะประกอบด้วยระบบต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ออกแบบจะจำแนกแบบ ออกเป็นดังนี้
-แบบแปลนผังบริเวณ
-แบบแปลนการเดินท่อพื้นชั้นต่างๆ
-แบบขยายห้องน้ำชั้นต่างๆ
-แบบขยายไอโซเมตริกห้องน้ำชั้นต่างๆ
-แบบขยายไดอะแกรมท่อระบบสุขาภิบาลแนวดิ่ง
-แบบมาตรฐานการติดตั้งท่อและอุปกรณ์ระบบสุขาภิบาล
-แบบแปลนการเดินท่อดับเพลิงชั้นต่างๆ
-แบบขยายไดอะแกรมท่อดับเพลิงในแนวดิ่ง
-แบบมาตรฐานการติดตั้งท่อดับเพลิงชั้นต่างๆ
-แบบมาตรฐานบ่อพักน้ำเสียและท่อรับน้ำเสีย
-แบบมาตรฐานบ่ิอดักขยะและดักไขมัน
-แบบมาตรฐานบ่อบำบัดน้ำเสียชนิดหล่อกับที่หรือชนิดสำเร็จรูป
     2)การถอดแบบสำรวจและคำนวรหาปริมาณของวัสดุและอุปกรณ์ในส่วนของงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย สามารถดำเนินการได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
     2.1)วัสดุอุปกรณ์ที่นับได้
     -เป็นการสำรวจหาปริมาณวัสดุอุปกรณ์ระบบสุขาภิบาลที่ถอดเป็นจำนวนนับได้ เช่น จุกเปิดล้างท่อที่พื้น(FOD) จุกเปิดล้างท่อใต้พื้น(CO) รูระบายน้ำทิ้งที่พื้น(FD) รูระบายน้ำฝนรูปโดม(RD) รูระบายน้ำฝนแบบเรียบ(RFD) ฝาปิดท่อระบายอากาศ(AVC) ถังเก็บน้ำสำเร็จรูป เครื่องสูบน้ำ มาตรวัดน้ำ ประตูน้ำลิ้นเกต ประตูน้ำลิ้นปีกผีเสื้อ ประตูน้ำกันกลับ ประตูน้ำระบายอากาศ ก๊อกน้ำ ถังบำบัดน้ำเสีย ถังดักไขมัน บอพัก เป็นต้น
     -เป็นการสำรวจหาปริมาณวัสดุอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยที่ถอดเป็นจำนวนนับได้ เช่น ตู้ดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์ประกอบ(FHC) ถังดับเพลิงเคมี หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ(Automatic Sprinklers) เครื่องสูบน้ำ ประตูน้ำชนิดต่างๆ หัวรับน้ำดับเพลิง(RMF) หัวจ่ายน้ำดับเพลิง(SMC) เป็นต้น
     2.2)วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องวัดความยาว
     -เป็นการสำรวจหาปริมาณวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องวัดความยาว ได้แก่ งานเดินท่อท่อระบายน้ำโสโครก ท่อระบายน้ำทิ้ง ท่อระบายอากาศ ท่อน้ำประปา ท่อน้ำร้อนท่อระบายน้ำฝน ท่อดับเพลิง ท่อรวบรวมน้ำเสีย ท่อระบายน้ำ ท่อรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น จะถอดเป็นเมตร โดยจะเริ่มสำรวจปริมาณจากแบบไดอะแกรมท่อและแปลนการเดินท่อพื้นชั้นต่างๆ โดยแยกเป็นท่อของแต่ละระบบ ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกในการจัดทำข้อมูลลงแบบ ปร.4
     -ผู้ถอดแบบสำรวจหาปริมาณวัสดุและอุปกรณ์ จำเป็นต้องศึกษาแบบรูปรายการ รายการประกอบแบบ และข้อกำหนดต่างๆ ในงานที่จะทำการก่อสร้าง ทั้งนี้ เพื่อให้มีความถูกต้องและมีรายการครบถ้วนตรงตามวัตถุประสงค์ที่หน่วยงานภาครัฐต้องการจัดจ้าง
     3)ชนิดของท่อที่ใช้ในงานระบบสุขาภิบาลและรบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
     3.1)ท่อระบายน้ำโสโครก ใช้เหล็กหล่อหรือท่อ PVC  ความลาดตามแนวนอนไม่น้อยกว่า 1:75
     3.2)ท่อระบายน้ำทิ้ง ใช้เหล็กกล้าอาบสังกะสีหรือท่อ PVC ความลาดแนวนอนไม่น้อยกว่า 1:75
     3.3)ท่อระบายอากาศ ใช้ท่อเหล็กอาบสังกะสีหรือท่อPVC
     3.4)ท่อประปาส่วนที่ต่อกับเครื่องสูบน้ำ ถังน้ำ ท่อเมนแนวดิ่งในช่องท่อ ใช้ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี สำหรับท่อส่วนที่ฝังดินและท่อห้องน้ำต่างๆ ที่แยกย่อยมาจากท่อเมน ใช้ท่อPB หรือท่อPVC
     3.5)ท่อระบายน้ำฝน ใช้ท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสีหรือท่อPVC
     3.6)ท่อดับเพลิง ใช้ท่อเหล็กดำมาตรฐานASTM หรือท่อเหล็กกล้าอาบสังกะสี
     3.7)ท่อรับน้ำเสีย ใช้ท่อHDPE
    3.8)ท่อระบายน้ำบริเวณ ใช้ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก
     4)หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณท่อและอุปกรณ์ ในงานระบบสุขาภิบาลและระบบดับเพลิงป้องกันอัคคีภัย
     4.1)การคำนวณท่อในแนวนอนและแนวดิ่ง ให้คำนวณความยาวรวมเป็นเมตรของท่อแต่ละชนิดและขนาดของท่อต่างๆ โดยเผื่อความยาวท่อ 10% เนื่องจากการเสียวัสดุจากการตัดท่อ
-ค่าแรงงานเดินท่อให้คำนวร 30%ของราคาวัสดุ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 20บาทต่อเมตร อัน หรือ ข้อต่อ เนื่องจากท่อและอุปกรณ์ข้อต่อ ข้องอ บางขนาด ต้องฝังในพื้นและผนังทำให้ค่าแรงงานสูงขึ้น
     4.2)ข้อต่อ ข้องอต่างๆ คำนวณตามชนิดของท่อ ดังนี้
-ท่อเหล้กกล้าอาบสังกะสี(GSP) ท่อเหล็กดำ(BSP) ท่อเหล็กไร้สนิม(SSP) ท่อทองแดง(CU)
ค่าวัสดุ30%ของราคาท่อ   ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
-ท่อพีวีซี(PVC) ท่อพีบี(PB) ท่อพีพี(PP) ท่อเอชดีพีอี(HDPE)
ค่าวัสดุ40%ของราคาท่อ  ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
-ท่อเหล็กหล่อเคลือบยางมะตอย(CI)
ค่าวัสดุ50%ของราคาท่อ  ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
-ปลอกรัดแสตนเลส
ค่าวัสดุ50%ของราคาท่อ  ค่าแรงงาน5%ของราคาวัสดุ
-ท่อทนสารเคมีห้องทดลอง ท่อแก้ว ท่อชนิดอื่นๆ และงานที่มีแบบขยายแสดงการเดินท่อ  อาจต้องสำรวจปริมาณและคำนวณราคาข้อต่อ  ข้องอต่างๆ  ตามที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
     4.3)ค่าอุปกรณ์ยึดแบะรองรับท่อ
-ค่าวัสดุ 10%ของราคาท่อ  ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
     4.4)ค่าทดสอบ ทำความสะอาด ทาสี ทำสัญลักษณ์ท่อ
-ค่าวัสดุ 5%ของราคาท่อ  ค่าแรงงาน30%ของราคาวัสดุ
     4.5)อุปกรณ์ระบบระบายน้ำ FCO, SCO, CO, FD, SD, RD, RFD, PD, AVC
-คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการ และรายการประกอบแบบ
     4.6)อุปกรณ์ระบบประปา มาตรวัดน้ำ ประตูน้ำชนิดต่างๆ
-คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
     4.7)อุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
-คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
-หัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ(Automatic Sprinklers) ให้เผื่อ3%จากที่กำหนดตามแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
     4.8)อุปกรณ์ระบบสุขาภิบาล ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบระบายน้ำ
-ถังเก็บน้ำสำเร็จรูป ให้คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
-ถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ถอดปริมาณจากแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ และคำนวณราคาต่อวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
-โรงสูบและถังเก็บน้ำคอนกรีตเสริมเหล็ก ถอดปริมาณจากแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ โดยคำนวณราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
-บ่อบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป บ่อดักไขมันสำเร็จรูป บ่อพักสำเร็จรูป คำนวณตามจำนวนที่ปรากฏในแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ
     -อาคารปรับปรุงคุณภาพน้ำ บ่อบำบัดน้ำเสียคอนกรีตเสริมเหล็ก ถอดปริมาณจากแบบรูปรายการและรายการประกอบแบบ และคำนวณราคาต่อวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
     -รางระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ ท่อรวบรวมน้ำเสีย คำนวณราคาเป็นบ่อ โดยคำนวณราคาค่าวัสดุและค่าแรงงานตามมาตรฐานงานโครงสร้างวิศวกรรมและงานสถาปัตยกรรม
     5)หลักเกณฑ์การเผื่อความยาวท่อแนวดิ่ง (พิจารณาตามความสูงของอาคาร)
5.1)ท่อระบายน้ำโสโครก      เดินท่อรับโถส้วม                     เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
                                         เดินท่อรับโถปัสสาวะ               เผื่อไว้ 0.70-1.00 เมตร
                                         เดินท่อรับ FCO                       เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
5.2)ท่อระบายน้ำทิ่ง             เดินท่อรับอ่างล้างหน้า             เผื่อไว้ 0.70-1.00 เมตร
                                         เดินท่อรับ FD                         เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
                                         เดินท่อรับ FCO                       เผื่อไว้ 0.50-1.00 เมตร
5.3)ท่อประปา                     เดินท่อเข้าโถส้วมชักโครก        เผื่อไว้ 1.00 เมตร
(ท่อใต้พื้นเข้าสุขภัณฑ์)        เดินท่อเข้าโถปัสสาวะ              เผื่อไว้ 1.00 เมตร
                                         เดินท่อเข้าอ่างล้างหน้า            เผื่อไว้ 1.00 เมตร
                                         เดินท่อก๊อกน้ำ                         เผื่อไว้ 1.00 เมตร
                                         เดินท่อวาล์วฝักบัว                   เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
5.4)ท่อประปา                     เดินท่อเข้าโถส้วมชักโครก        เผื่อไว้ 2.50-3.00 เมตร
(ท่อบนพื้นเข้าสุขภัณฑ์)       เดินท่อเข้าโถปัสสาวะ              เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
-                                        เดินท่อเข้าอ่าลล้างหน้า            เผื่อไว้ 2.00-2.50เมตร
                                         เดินท่อก๊อกน้ำ                         เผื่อไว้ 2.00-2.50 เมตร
                                         เดินท่อวาล์วฝักบัว                   เผื่อไว้ 3.00-4.00 เมตร
5.5)ท่อระบายอากาศ            เดินท่อเข้าโถส้วมชักโครก        เผื่อไว้ 3.00-4.00 เมตร
                                          เดินท่อเข้าโถปัสสาวะ              เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
                                          เดินท่อเข้าอ่างล้างหน้า            เผื่อไว้ 1.50-2.00 เมตร
5.6)ท่อดับเพลิง                   เดินท่อรับหัว SPRINKLER         เผื่อไว้ 0.20-0.50 เมตร
5.7)ท่อระบายน้ำฝน              เดินท่อรับหัวRFD และ RD        เผื่อไว้ 0.20-0.50 เมตร

ที่มา : หน้า 101 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง งานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

71 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม(2/2)

     หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม
     5)งานประตู-หน้าต่าง
     5.1)ประตู-หน้าต่าง ปริมาณหรือจำนวนของประตู-หน้าต่างมีหน่วยเป็นชุด ในการคำนวณปริมาณ ให้คำนวณหรือนับแยกเป็นปริมาณของประตู-หน้าต่างแต่ละชนิดหรือแต่ละแบบตามสัญลักษณ์ที่กำหนดในแบบแปลน แบบก่อสร้าง และหรือแบบขยายงานประตู-หน้าต่าง เช่น ป1 ป2 ป3 ป4 น1 น2 น3 น4 น5 เป็นต้น  เมื่อรวมจำนวนที่คำนวณหรือนับได้ของทุกชนิดหรือทุกแบบ จะได้ปริมาณงานหรือจำนวนของประตู-หน้าต่าง ทั้งหมด เป็นจำนวน x ชุด
     5.2)สำหรับรายละเอียดประกอบการถอดแบบเพื่อคำนวณปริมาณและราคาสำหรับวัสดุอุปกรณ์และหรือสว่นประกอบของงานประตู-หน้าต่าง มีดังนี้
     -วงกบประตู-หน้าต่าง ให้คำนวณปริมาณเป็นจำนวนชุด และสามารถแยกรายการวัสดุที่ใช้ทำวงกบประตู-หน้าต่างได้ตามรูปแบบที่ต้องการ หรือจะใช้วิธีสืบจากผู้ผลิตหรือสืบในท้องตลาดตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามข้อเท็จจริง
     -บานประตู-หน้าต่าง ให้คำนวณปริมาณเป็นจำนวนบาน และสามารถแยกรายการวัสดุใช้ทำบานประตู-หน้าต่าง ได้ตามรูปแบบที่ต้องการ หรือจะใช้วิธีสืบจากผู้ผลิตหรือสืบในท้องตลาดตามความเหมาะสมและสอดคล้องตามข้อเท็จจริง
     -อุปกรณ์ประตู-หน้าต่าง ให้คำนวณปริมาณเป็นจำนวนชุดหรืออัน แล้วแต่วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ โดยคำนวณแยกอุปกรณ์ประตู-หน้าต่างตามที่กำหนดตามรูปแบบรายการ แบบก่อสร้าง เมื่อรวมกันทั้งหมดแล้ว ได้เป็นจำนวน x ชุดหรืออัน
     -กระจกประตู-หน้าต่าง การคำนวณปริมาณงานกระจกประตู-หน้าต่าง มีหน่วยเป็นตารางฟุต โดยให้คำนวณแยกปริมาณงานตามชนิดและความหนา เช่น กระจกใสหนา 2 หุน  กระจกฝ้าหนา 1-1/2 หุน เป็นต้น เมื่อรวมทั้งหมดแล้ว ได้เป็นจำนวน x ตร.ฟ.
     -อุปกรณ์ชนิดพิเศษอื่นๆ เช่น ระบบเปิด-ปิดอัตโนมัติ  ระยยคีย์การ์ด และหรืออื่นๆให้คำนวณแยกปริมาณงานตามอุปกรณ์ ตามที่กำหนดตามรูปแบบรายการ ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว ได้เป็นจำนวน x ชุดหรืออัน
     หมายเหตุ
     (1)ชุด หมายถึง รวมวงกบ-กรอบบานประตู-หน้าต่าง และอุปกรณ์ประกอบทุกอย่างไว้ด้วยแล้ว
     (2)ราคาต่อชุด รวมทั้งราคาอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง
     6)งานเครื่องสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ประกอบห้องน้ำ-ห้องส้วม
     6.1)เครื่องสุขภัณฑ์ การคำนวณปริมาณหรือจำนวนมีหน่วยเป็นชุด โดยให้คำนวณแยกปริมาณหรือจำนวนตามสัญลักษณ์และชนิดของเครื่องสุขภัรฑืแต่ละชนิดหรือแต่ละแบบ ตามที่กำหนดตามแบบแปลนและหรือแบบขยายงานห้องน้ำ-ห้องส้วม เช่น โถส้วมชักโครกชนิดนั่งราบ โถส้วมนั่งยอง โถปัสสาวะชาย    อ่างล้างมือชนิดแขวนผนัง เป็นต้น เมื่อรวมทั้งหมดจะได้ปริมาณหรือจำนวนเป็น x ชุด
     6.2)อุปกรณ์ประกอบห้องน้ำ-ห้องส้วม การคำนวณปริมาณหรือจำนวนมีหน่วยเป็นชุดหรืออันแล้วแต่อุปกรณ์ที่จะใช้ โดยให้คำนวณแยกอุปกรณ์ตามที่กำหนดตามรูปแบบและหรือรายการประกอบแบบ เช่น ที่ใส่สบู่ ราวแขวนผ้า กระจกเงา ราวจับคนพิการ เป็นต้น เมื่อรวมทั้งหมดจะได้ปริมาณหรือจำนวน x ชุดหรืออัน
     6.3)เคาน์เตอร์อ่างล้างมือ การคำนวณปริมาณงานมีหน่วยเป็นเมตร โดยให้คำนวณแยกปริมาณงานตามวัสดุที่ใช้ตามที่กำหนดตามรูปแบบและหรือรายการประกอบแบบ เมื่อรวมทั้งหมดจะได้ปริมาณหรือจำนวน x เมตร
     6.4)ชุดห้องน้ำสำเร็จรูป การคำนวณปริมาณหรือจำนวนมีหน่วยเป็นชุดหรือห้อง โดยให้นับจำนวนเป็นห้องหรือชุด ทั้งแบบเต็มห้องและครึ่งห้อง (ด้านหน้า+ประตู) ซึ่งรวมอุปกรณ์ประกอบสำหรับห้องน้ำจากผู้ผลิตไว้แล้ว เมื่อรวมทั้งหมดจะได้ปริมาณหรือจำนวน x ชุดหรือห้อง
     7)งานบันไดและส่วนประกอบบันได
     7.1)บันไดไม้
     -ลูกตั้ง ลูกนอนไม้ ขนาดหน้าตัด ความยาว และชนิดของไม้ ให้คำนวณรวมกัน ได้เป็นจำนวน x ท่อน
     -ราวบันไดไม้พร้อมลูกกรงไม้ ขนาดหน้าตัด และชนิดของไม้ ให้คำนวณหาความยาวโดยรวม ได้เป็นจำนวน x เมตร
     -แม่บันไดไม้พร้อมพุกรับขั้นบันได ขนาดหน้าตัด และชนิดของไม้ ให้คำนวณหาความยาวรวม ได้เป็นจำนวน x เมตร
     -พื้นชานพัก คานและตงไม้ ขนาดหน้าตัด และชนิดของไม้ ให้คำนวณหาพื้นที่รวมได้เป็นจำนวน x ตร.ม.
หมายเหตุ ส่วนประกอบของงานบันไดไม้ทั้งหมดดังกล่าว อาจคำนวณโดยพิจารณาจากขนาดหน้าตัดของไม้แต่ละประเภทที่ใช้เป็นส่วนประกอบของงานบันไดไม้ โดยมีหน่วยเป็น ลบ.ฟ.  ท่อน  เมตร  หรือ ตร.ม.  ก็สามารถที่จะกระทำได้ สำหรับราคาให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยกับราคาและแหล่งวัสดุก่อสร้าง
     7.2)บันได ค.ส.ล.
     -บันได ค.ส.ล.ซึ่งตกแต่งผิวด้วยวัสดุต่างๆ เช่น บันไดลูกตั้ง-ลูกนอน ทำผิวหินขัด ทำผิวทรายล้าง ปูกระเบื้องดินเผาสลับทรายล้าง ปูกระเบื้องดินเผาเคลือบเซรามิค ปูหินแกรนิตผิวเป่าหยาบ เป็นต้น ให้คำนวณหาความยาวโดยรวมลูกตั้ง ลูกนอน และหรือวัสดุตกแต่งผิวต่างๆ ปริมาณที่ได้รวมเป็น x เมตร
     -อุปกรณ์และส่วนประกอบงานบันได ค.ส.ล. เช่น บัวเชิงผนัง จมูกบันไดเซาะร่อง จมูกบันไดโลหะชนิดต่างๆ เป็นต้น ให้คำนวณหาความยาวรวมของอุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ ปริมาณที่ได้รวมเป็น x เมตร
     -ราวกันตกประเภทต่างๆ เช่น ราวบันไดท่อเหล็กขนาด 2" ราวบันไดท่อแสตนเลส ขนาด3" เป็นต้น ให้คำนวณหาความยาวรวมของราวกันตกประเภทต่างๆ ปริมาณที่ได้ รวมเป็น x เมตร
     8)งานทาสี
     -เป็นการคำนวณหาปริมาณพื้นที่ทาสี มีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยให้คำนวณแยกปริมาณงานตามวัสดุที่ใช้ เช่น ทาสีน้ำมัน ทาสีไม้ ทาสีน้ำมันกันสนิมเหล็ก ทาสีน้ำอะคริลิค 100% ชนิดทาภายนอก และทาภายใน สีย้อมเนื้อไม้(แชล็คหรือแลคเกอร์) งานพ่นสีระเบิด เป็นต้น เมื่อรวมพื้นที่ทาสีทั้งหมดของทุกวัสดุที่ใช้ จะได้พื้นที่ทาสีทั้งหมดเป็นจำนวน x ตร.ม.
     -ในเรื่องของชนิดและคุณลักษณะของสี ผู้มีหน้าที่คำนวณราคากลางจะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสีของแต่ละบริษัทผู้ผลิตสี รวมทั้งรายการประกอบแบบ ให้ละเอียดและเข้าใจว่าผู้ออกแบบต้องการให้ใช้สีประเภทไหน สำหรับงานอะไร ภายในหรือภายนอก เพราะอาจเกิดข้อผิดพลาดในเรื่องขอบเขต คุณสมบัติ และชนิดของสีที่จะทาได้ หรืออาจมีวัสดุบางรายการที่ได้มีการทำสีมาจากโรงงานแล้ว เช่น ประตูสำเร็จรูป ประตูเหล็กกันไฟ ไม้เชิงชายสำเร็จรูป หรือไม้ฝาสำเร็จรูป เป็นต้น

ที่มา : หน้า 98 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555


70 : หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม(1/2)

     หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม
     1)งานมุงหลังคา
     1.1)วัสดุมุงหลังคา
     -กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ชนิดลอนคู่ขนาด 0.54 x 1.20 ม. หรือที่มีขนาด ชนิด และหรือคุณลักษณะเทียบเท่าหรือใกล้เคียง การคำนวณหาปริมาณวัสดุมุงหลังคาดังกล่าวต้องคำนวณหักความกว้างของแผ่นวัสดุที่ต้องซ้อนทับทั้งด้านกว้างและด้านยาว ตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของกระเบื้องแต่ละชนิดหรือตามแบบรูปรายการ เมื่อได้จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้มุงหลังคาทั้งหมดแล้ว ให้เผื่อเปอเซนต์ที่อาจจุแตกหักจากการกอง เก็บ หรือ จากการทำงาน 3% สำหรับหลังคาทรงจั่ว ทางเพิง และ 5%สำหรับทรงปั้นหยา ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นกระเบื้องที่ต้องใช้ทั้งหมด มีหน่วยเป็น x แผ่น
     -กระเบื้องคอนกรีตขนาด 0.23 x 0.42 ม. หรือที่มีขนาด ชนิด และหรือคุณลักษณะเทียบเท่าหรือใกล้เคียง  การคำนวณหาปริมาณวัสดุดังกล่าว ให้คำนวณหาพื้นที่ตามแนวลาดเอียงของหลังคา เมื่อได้พื้นที่โดยรวมทั้งหมดแล้ว ให้คูณด้วยจำนวนแผ่นกระเบื้องต่อ 1 ตารางเมตรตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของกระเบื้องแต่ละชนิด หรือตามรูปแบบรายการ เมื่อได้จำนวนกระเบื้องที่ต้องใช้มุงหลังคาทั้งหมดแล้ว ให้เผื่อเปอเซนต์ที่อาจจะแตกหักจากการกอง เก็บ หรือจากการทำงาน 3% สำหรับหลังคาทรางจั่ว ทรงเพิง และ5% สำหรับทรงปั้นหยา ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นกระเบื้องที่ต้องใช้ัทั้งหมด มีหน่วนเป็น x แผ่น
     1.2)การคำนวณหาปริมาณวัสดุมุงครอบสันชนิดต่างๆ เช่น ครอบสันองศา ครอบสันปรับมุม กระเบื้องลอนคู่ ลอนเหล็ก หรือครอบสันโค้ง ครอบสันตะเข้ ครอบข้างหน้าจั่ว ครอบข้างชนผนัง เป็นต้น ให้คำนวณหาความยาวรวมแล้วหักระยะซ้อนทับของกระเบื้องแต่ละชนิดตามที่กำหนดไว้ในคู่มือของกระเบื้องแต่ละชนิด หรือตามแบบรูปรายการ เพื่อจะหาจำนวนครอบมุมที่ต้องใช้ทั้งหมด แล้วเผื่อจำนวนที่อาจจะแตกหักเพราะการกอง เก็บ หรือจากการทำงาน 3% ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นจำนวนที่จะต้องใช้ทั้งหมด มีหน่วยเป็น x แผ่น
     1.3)การคำนวณหาปริมาณอุปกรณ์ยึดวัสดุมุงหลังคาและหรือยึดครอบมุม ให้คำนวณตามชนิด ขนาด และความยาวของวัสดุยึดวัสดุมุงหลังคาและหรือยึดครอบมุม แล้วรวมยอดแต่ละชนิด ได้เป็นปริมาณอุปกรณ์ยึดวัสดุมุงหลังคาและหรือยึดครอบุมทั้งหมด โดยให้พิจารณารายละเอียดจากแบบแปลน แบบก่อสร้าง และหรือรายการประกอบแบบ
     1.4)การคำนวณหาพื้นที่มุงหลังคา ให้คำนวณพื้นที่มุงหลังคาตามแนวลาดเอียงของหลังคาจะได้พื้นที่เป็น x ตร.ม.  เพื่อนำไปคำนวณค่าแรงงานตามวัสดุมุงหลังคาแต่ละชนิดต่อไป
     2)งานฝ้าเพดาน
     2.1)การคำนวณปริมาณงานฝ้าเพดาน ให้คำนวณโดยการหาพื้นที่ตามระยะความกว้างคูณความยาว ที่กำหนดในแบบแปลน แบบก่อสร้าง โดยแยกรายการตามชนิดของฝ้าเพดานชนิดต่างๆ เช่น ฝ้ายิบซั่มบอร์ดหนา 9 มม. ฉาบรอยต่อเรียบ โครงเคร่าทีบาร์ขนาด 0.60 x 0.60 ม. ฝ้ายิบซั่มบอร์ดหนา 9 มม. ฉาบรอยต่อเรียบ โครงเคร่าเหล็กชุบสังกะสี  ฝ้าอลูมิเนียมอยสีรูปตัวซี ยึดเว้นรองโครงเคร่า ตามมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น  เมื่อรวมพื้นที่ฝ้าเพดานทุกชนิด จะได้เป็นปริมาณฝ้าเพดานทั้งหมด เป็นจำนวน x ตร.ม.
     3)งานผนังและตกแต่งผิวผนัง
     3.1)งานผนัง การคำนวณปริมาณงานผนัง หมายถึงการคำนวณหาพื้นที่ผนัง วัสดุก่อสร้างและหรือวัสดุชนิดแผ่นตียึดโครงเคร่าชนิดต่างๆ เช่น ผนังไม้อัดซีเมนต์ ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ ผนังยิบซั่มบอร์ด ผนังไม้เทียมสำเร็จรูป ผนังก่ออิฐ ผนังกระเบื้องแผ่นเรียบ ผนังไม้อัด เป็นต้น ให้คำนวณโโยการคำนวณหาพื้นที่ตามระยะที่กำหนดในแบบแปลน แบบก่อสร้าง และหรือระบะที่วัดได้จริง แล้วรวมกันเป็นงานผนังทั้งหมดจำนวน x ตร.ม.หลักเกณฑ์การคำนวณปริมาณงานก่อสร้างอาคาร : งานสถาปัตยกรรม
     3.2)งานฉาบปูน การคำนวณหาปริมาณงานฉาบปูนมีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยให้คำนวณพื้นที่ของงานฉาบปูนแต่ละประเภท แต่ละงาน หรือแต่ละส่วน ตามระยะที่กำหนดในแบบแปลนหรือระยะที่วัดได้จริง เช่น งานผนังฉาบปูนเรียบ งานฉาบปูนเพดาน และงานฉาบปูนโครงสร้าง เป็นต้น แล้วรวมกันเป็น x ตร.ม.
     3.3)งานวัสดุผิวผนัง การคำนวณหาปริมาณงานมีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยคำนวณแยกเป็นปริมาณของวัสดุบุผนังปต่ละชนิดหรือแต่ละแบบ ตามขนาด ชนิด แบบ และหรือคุณลักษณะที่ต่างกันตามที่กำหนดในแบบแปลนหรือรายการประกอบแบบ เช่น ผนังบุกระเบื้องดินเผาเคลือบเซรามิคขนาด 8"x8",8"x10" ผนังบุหินออ่อนขนาด 0.30 x 0.60 ม. ผนังหินทรายล้าง ผนังทำหินล้าง เป็นต้น เมื่อคำนวณหาพื้นที่ของวัสดุแต่ละชนิดหรือแต่ละแบบแล้ว ให้รวมกันได้เป็น x ตร.ม.
     4)งานทำพื้น
     4.1)งานทำพื้นไม้ เป็นการคำนวณหาปริมาณไม้ที่ใช้ทำคาน ตง และพื้น มีหน่วยเป็น x ลบ.ฟ.
     -การคำนวณความยาวของไม้แต่ละอย่างนั้น ต้องเผื่อความยาวไม้ให้พอกับการก่อสร้างจริง โดยความยาวของไม้แปรรูปในท้องตลาด กรณีไม้ขนาดหน้าตัดเล็กจะมีความยาวตั้งแต่ 1.00ม. 1.50ม. 2.00ม. และไม่เกิน 6.00ม. เช่น ไม้ขนาด 1-1/2" x 3" เป็นต้น ส่วนไม้หน้าตัดใหญ่หรือกว้าง เช่น 2" x 8" เป็นต้น จะมีความยาวตั้งแต่ 2.00 ม. ถึง 8.00ม.ทั้งนี้ในการคำนวณปริมาณให้เพิ่มความยาวขึ้นหน่วยละ 50 เซนติเมตร
     ด้วยเหตุนี้ ผู้มีหน้าที่คำนวณจึงต้องระทัดระวังในเรื่องความยาวของไม้ เพราะถ้าความยาวไม้แต่ละขนาดไม่ลงตัวหรือไม่พอดีกับการใช้งานก่อสร้าง จะต้องเพิ่มความยาวขึ้นอีก 50 เซนติเมตร ดังกล่าว
     -การคำนวณปริมาณอุปกรณ์ยึดคาน ตง ซึ่งได้แก่ แผ่นเหล็กประกับ น๊อตสกรู สำหรับยึดขนาดต่างๆ เป็นต้น ให้คำนวณหาจำนวนจากแบบแปลน รายการประกอบแบบ และหรือแบบขยาย
     -การคำนวณหาปริมาณงานทำพื้นไม้ ให้คำนวณตามแนวราบ โดยใช้ความกว้างคูณความยาว ก็จะได้งานทำพื้นไม้ มีหน่วยเป็น x ตร.ม. เพื่อนำไปคำนวณค่าแรงงานในการประกอบและติดตั้งงานทำพื้นไม้
     4.2)งานวัสดุผิวพื้น การคำนวณหาปริมาณงานวัสดุผิวพื้น มีหน่วยเป็นตารางเมตร โดยให้คำนวณแยกเป็นปริมาณวัสดุผิวพื้นแต่ละประเภทหรือชนิด เช่น พื้นปูกระเบื้องดินเผาเคลือบเซรามิค ขนาด 12" x 12"  พื้นปูหินอ่อน ขนาด 0.30 x 0.60 ม.  พื้นทำหินล้าง  พื้นที่ทรายล้าง เป็นต้น  แล้วคำนวณพื้นที่กว้าง x ยาว ตามระยะที่กำหนดไว้ในแบบแปลน เมื่อรวมพื้นที่วัสดุผิวพื้นทุกประเภทหรือชนิด จะได้ปริมาณงานวัสดุผิวพื้นทั้งหมด เป็น x ตร.ม.
     4.3)งานบัวเชิงผนัง การคำนวณหาปริมาณงานบัวเชิงผนังมีหน่วยเป็นเมตร โดยให้คำนวณแยกเป็นปริมาณของวัสดุทำบัวเชิงผนังแต่ละประเภทหรืองาน เช่น บัวเชิงผนังไม้ บัวเชิงผนังหินขัด บัวเชิงผนังหินล้าง เป็นต้น แล้วคำนวณหาความยาวของวัดุที่ใช้ทำบัวเชิงผนังของแต่ละประเภทหรืองาน โดยวัดระยะตามแบบแปลน เมื่อรวมปริมาณของวัสดุทำบัวเชิงผนังแต่ละประเภทหรืองาน จะได้ปริมาณงานบัวเชิงผนังทั้งหมด x เมตร

ที่มา : หน้า 95 หลักเกณฑ์การคำนวณราคากลางงานก่อสร้างอาคาร กุมภาพันธ์ 2555